แข็งแรง ย้อนวัย ระดับ “โครโมโซม” เรื่องต้องรู้ดูแล “เทโลเมียร์”

สัมภาษณ์: รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ การชะลอวัย และที่ปรึกษางานวิจัย บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO

โดย ดร.นงค์นาถ ห่านวิไล

ดร.นงค์นาถ : เทโลเมียร์(Telomere)คืออะไรรศ.ดร.ปรียา : เทโลเมียร์คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของร่างกายเรา สมมติว่าร่างกายเราประกอบไปด้วยเซลล์ 100 ล้านล้านเซลล์ ในแต่ละเซลล์ก็จะมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางของนิวเคลียสก็จะเป็นที่บรรจุโครโมโซม เปรียบเหมือนปาท่องโก๋ ปลายโครโมโซมก็จะมีหมวกหุ้มไว้เพราะโครโมโซมเราอัดแน่นไปด้วย DNA ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรม เป็นตัวบ่งบอกว่า เราจะมีหน้าตา ผิวพรรณ สติปัญญาแบบนี้ ส่วนตัวหมวกหุ้มปลายโครโมโซม คือ เทโลเมียร์ เป็นตัวช่วยปกป้องไม่ให้ DNA ของเราสลายออกมา เพราะโครโมโซมเราอัดแน่นไปด้วย DNA ปลายโครโมโซมก็ต้องมีหมวกหุ้มไว้เพื่อป้องกัน DNA ถูกทำลาย

เทโลเมียร์จะยาวที่สุดตอนแรกเกิด หลังจากนั้นก็จะสั้นลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว ก็คือเป็นไปตามการเจริญเติบโตตามอายุเราเพราะฉะนั้นเทโลเมียร์ก็จะสั้นลงทุกวัน

ดร.นงค์นาถ : สั้นลงตามธรรมชาติเลยใช่ไหม

รศ.ดร.ปรียา : ใช่ ตามธรรมชาติเลยทุกครั้ง ที่เซลล์มีการแบ่งตัว เทโลเมียร์ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนปาท่องโก๋ที่ปลายถูกหุ้มด้วยช็อกโกแลต ตัวช็อกโกแลตนี้ก็คือ เทโลเมียร์ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีการแบ่งตัวช็อกโกแลตก็จะมีการแหว่งไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้าตัวหมวกเสื่อมเมื่อไหร่ DNA ก็จะถูกทำลายได้ง่าย

โดยธรรมชาติหมวกก็จะเสื่อมไปเรื่อยๆ ทุกครั้ง ที่มีการแบ่งตัว มันก็จะทำให้เราเข้าสู่ชราภาพหรือแก่นั่นเอง สาเหตุที่เราแก่ก็เพราะเทโลเมียร์เราสั้น และเซลล์ก็จะเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ประมาณอายุ 80-90 ปี เซลล์ไม่แบ่งตัวแล้วก็จะเสื่อมไปเรื่อยๆ ถึงเวลาก็จะหมดอายุขัยไป

ดร.นงค์นาถ : อะไรที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลงเรื่อยๆ นอกจากธรรมชาติของอายุขัย

รศ.ดร.ปรียา : พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งหลาย เช่น อ้วน ลองนึกภาพคนอ้วน เซลล์เขาจะต้องมีการแบ่งตัวเยอะมาก ตัวถึงออกมาโต เทโลเมียร์ก็จะสั้นเร็ว กินหวานมาก กินน้ำตาลมาก เทโลเมียร์ก็จะสั้น ภาวะเครียด ดื่มเหล้าหรือแอลกอฮอล์เยอะเกินไป สูบบุหรี่ นอนน้อยเรื้อรังเป็นปีๆ มันจะทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพไปตามที่เทโลเมียร์ที่สั้นลงไปเรื่อยๆ เป็นตัวที่จะตอบคำถามเราได้ชัดเจนเลยว่าทำไมพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพถึงทำให้คนแก่เร็ว มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังทั้งหลายเยอะแยะ ทั้งเบาหวาน ความดัน มะเร็ง

ดร.นงค์นาถ : ถ้าทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น สุขภาพเราจะดีขึ้นอย่างไร

รศ.ดร.ปรียา : ถ้าเราสามารถทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้นก็เท่ากับว่าเราย้อนวัยชะลอวัย เนื่องจากเทโลเมียร์จะสั้นลงเพราะอายุเยอะขึ้น ดังนั้นถ้าเทโลเมียร์ยาวขึ้น ร่างกายก็จะอ่อนวัย

ดร.นงค์นาถ : แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเทโลเมียร์เราสั้นหรือยาว

รศ.ดร.ปรียา : เดี๋ยวนี้เราสามารถทำได้ง่ายๆ เลย โดยการเจาะเลือดตรวจ เจาะเลือดแล้วนำไปสกัดออกมา แล้วทำการวัดความยาวของเทโลเมียร์ เราสามารถทำได้แล้วแต่ว่าค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ประมาณ 10,000 บาท ตรวจประมาณปีละครั้งก็ได้ เพื่อที่จะติดตามตัวเอง การสั้นลงของเทโลเมียร์เราพบว่าสอดคล้องกับการเกิดโรคเรื้อรังทั้งหลาย ยกตัวอย่าง เช่น คนเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด คนเป็นหลอดเลือดสมองตีบ หรือแม้กระทั่งอัลไซเมอร์ คนกลุ่มนี้จะมีเทโลเมียร์สั้นกว่าคนที่ไม่มีภาวะโรคเหล่านี้ และคนที่ทานยาเป็นประจำในการรักษาโรคต่างๆ ก็จะมีเทโลเมียร์สั้น

ดร.นงค์นาถ : แล้วเรื่องสารอนุมูลอิสระเกี่ยวของกับเทโลเมียร์ไหม

รศ.ดร.ปรียา : สารอนุมูลอิสระจะเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบขึ้น เมื่อร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นมา ก็จะไปกระทบกับตัวเทโลเมียร์ ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง ประเด็นตรงนี้จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าอะไรเป็นต้นเหตุที่แท้จริงของภาวะผิดปกติทั้งหลายของโรคเรื้อรังทั้งหลายที่เราเจอในตอนแก่ขึ้น หมดประจำเดือนแล้ว ทำไมตรวจเลือดเจอโน่นนี่ผิดปกติ ทั้งๆ ที่แต่ก่อนไม่เจอ แล้วพอเรากลับไปแก้ที่ตัวต้นเหตุได้เร็วที่สุด เราก็ไม่จำเป็นต้องไปนั่งรับประทานยาเพื่อที่จะรักษาปลายเหตุ เพราะฉะนั้นเรื่องเทโลเมียร์ทำให้เราเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเกิดขึ้นของโรคทั้งหลายได้ชัดเจนมากขึ้นแล้ว เราก็จะไปแก้ที่ตัวต้นเหตุได้ถูกต้อง

ดร.นงค์นาถ : เราจะฟื้นฟูหรือซ่อมสร้างเทโลเมียร์ได้อย่างไรบ้าง

รศ.ดร.ปรียา : ข้อแรกต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เราเกิดมาแล้วเราต้องแก่ไปทุกวันๆ อันนี้เราทำอะไรไม่ได้ ถัดมา พฤติกรรมทั้งหลายที่เราพูดไปแล้วว่ามันส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร พยายามแก้ไขตรงนั้นก็จะชะลอการสั้นลงของเทโลเมียร์ได้ หมั่นออกกำลังกาย นอนให้พอ กินให้เป็น ไม่อ้วน ไม่เครียด ก็จะช่วยชะลอการสั้นลงของเทโลเมียร์ได้ เราก็จะไม่แก่กว่าเพื่อน แต่ถ้าเราอยากชะลอมากกว่านั้นอีก ก็อาจจะต้องใช้นวัตกรรมบางอย่างเข้ามาช่วยเป็นอาหารทำให้เราสามารถที่จะไปกระตุ้นการสร้างเทโลเมียร์ขึ้นมาได้อีก ไม่ให้สั้นลงไปตามธรรมชาติ แค่นี้เราก็จะย้อนวัยได้ และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้องรังทั้งหลายได้ดีขึ้น

ดร.นงค์นาถ : ถ้าผู้สูงวัยเขาเปลี่ยนพฤติกรรมยังจะทันอยู่ไหม เช่นอายุ 50-60ขึ้นไป

รศ.ดร.ปรียา : ทันหมดทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็แล้วแต่ 60 – 70 – 80 – 90 สามารถปรับพฤติกรรมได้หมด ถ้ามีความตั้งใจจริง และเข้าใจจริง คิดว่าปัญหามากับความตั้งใจ มากกว่าเข้าใจ ถ้าเราเข้าใจแล้ว ปรับนิดเดียวเท่านั้นเอง เราก็สามารถดูแลสุขภาพเราได้ทัน ไม่ว่าจะอายุเท่าไร แต่ถ้าถามว่าเริ่มทำตั้งแต่เมื่อไหร่ เริ่มทำตั้งแต่เมื่อคิดได้ วัยไหนก็ได้ รีบทำเลย รีบฝึกเลย

โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เราบอกว่าไม่ต้องระวังหรอก ปล่อยให้เขากินไปเพราะเขาจะได้เจริญเติบโต แต่หารู้ไม่ว่าบ้านคุณมีกรรมพันธุ์เรื่องเบาหวาน คุณมีกรรมพันธุ์เรื่องไขมันในเลือดสูงนะ ถ้าคุณไม่ดูแลตั้งแต่เขาเด็กๆ ผลสุดท้ายก็ปล่อยสะสมไป แล้วเรามีปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผลสุดท้ายลูก หลาน เราก็จะต้องเป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง เพราะเรามักบอกว่ามันเป็นกรรมพันธุ์ เดี๋ยวอย่างไรก็เป็น มันไม่ใช่ เพราะเราสามารถปรับพฤติกรรมได้ เพื่อที่จะลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ของเราได้ด้วย เพราะฉะนั้นเริ่มต้นได้เร็วเท่าไร ก็ดีที่สุด

ดร.นงค์นาถ : โควิดเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไหม

รศ.ดร.ปรียา : เกี่ยว Long COVID ถ้าเราพูดให้สนุกๆ ก็คือ ภาวะที่เจ็บแต่ไม่จบ ยกตัวอย่างว่าถ้าเราติดโควิดแล้ว ปลอดเชื้อแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเราไม่ได้เสื่อมถอย ร่างกายเราจะเสื่อมถอยไปอีกหลังจากที่ติดโควิดแล้ว เพราะว่าเชื้อตัวนี้มันทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายเราด้วย

ย้อนกลับไปเรื่องก่อนหน้านี้จากการศึกษาตอนนี้มีงานวิจัยออกมาเยอะแยะ จากคนที่ติดโควิดแล้ว และปลอดเชื้อแล้ว พบว่า เทโลเมียร์สั้นลงกว่าปกติ สั้นลงกว่าคนที่ไม่ติดโควิด หลังจากนั้นเขาก็มีการติดตามดู ที่ประเทศอิตาลี เขาติดกันเยอะมาก และตายเยอะมาก มีกลุ่มที่เขาติดตามประมาณ 8 สถาบันด้วยกัน ที่รวบรวมเก็บข้อมูล ก็พบว่าคนที่ติดโควิดแล้วนี้ เทโลเมียร์ สั้นลงกว่าคนที่ไม่ติด อายุร่างกายแก่ลงไปประมาณ10ปี

เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าคนพวกนี้จะมีภาวะที่เสื่อมถอยไปได้เร็วขึ้น อย่างน้อยอาการ Long COVID คนกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เรื่องสมาธิ จะรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เพราะโควิดช่วงแรกจะไปเล่นงานที่ปอด เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจเซลล์ของปอดก็จะถูกทำลายไปบ้างบางส่วน ถึงแม้จะยังทำงานได้ตามปกติ อาการที่สำคัญของ Long COVID ก็จะคือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย ผลสุดท้ายก็จะลามไปถึงเรื่องสมาธิ และความจำด้วย อันนี้เป็นอาการที่พบกันในกลุ่ม Long COVID

ดร.นงค์นาถ : คนรุ่นใหม่เขาควรหยุด หรือเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร เพื่อดูแลเทโลเมียร์ตัวเองตั้งแต่ยังเด็ก

รศ.ดร.ปรียา : จากตัวเลขที่รวบรวมเก็บข้อมูลมาเราเจอว่าคนช่วงอายุ 20-30 ปีเป็นช่วงที่มีอัตราการสั้นลงของเทโลเมียร์สูงสุด

ดร.นงค์นาถ : ไม่ใช่ผู้สูงอายุหรอกหรือ

รศ.ดร.ปรียา :ไม่ใช่ ผู้สูงอายุเซลล์จะเสื่อมแล้ว เซลล์จะไม่ลดลงฮวบฮาบ เขาจะค่อยๆ สั้นเรื้อรังไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่เซลล์ไม่แบ่งตัวแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลงไปเหมือนที่เราเห็นผู้สูงอายุหลายๆ ท่าน ที่อายุ 100 ขึ้นไป พอถึงเวลาแล้วพวกท่านก็จะสิ้นลมไปเฉยๆ แต่ขณะเดียวกันพวกที่อายุ 20 คือ หยุดเจริญเติบโตแล้ว ร่างกายจะแบ่งเซลล์ขึ้นมาอีกเยอะเหมือนกัน เพื่อที่จะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือภาวะที่ไม่รู้จักใช้ร่างกาย ตะบี้ตะบันทำงาน อดนอน นอนดึก เที่ยวสารพัด เพราะว่ายังมีพลังอยู่ เพราะฉะนั้นช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เทโลเมียร์สั้นลงเร็วมาก

ดังนั้นถ้ารู้ความจริงตรงนี้แล้ว หรือเราเผยแพร่ออกไปเยอะๆ แล้ว พวกน้องๆ ลูกๆ เราก็จะได้รีบปรับตัว หันมาดูแลตัวเองได้เร็ว เราก็จะได้แก่ช้ากว่าเพื่อน และโอกาสที่จะไปเป็นโรคทั้งหลาย ที่เรากลัวกัน ส่วนใหญ่จากการเก็บข้อมูลมานี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท โรงพยาบาล องค์กรทั้งหลาย เราก็จะเจอว่า ทำไมคนกลุ่มนี้พอใกล้เกษียณแล้ว เจาะเลือดเจอโน่นนี่เต็มไปหมด ทั้งๆ ที่แต่ก่อนไม่เคยเป็น แต่พอ 40-50 กว่า ไขมันสูงอีกแล้ว น้ำตาลสูงอีกแล้ว แล้วก็ยังทำพฤติกรรมเหมือนเดิม ปีหน้าเจาะอีกก็เจออีกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นโรค ก็ต้องกินยา

ดร.นงค์นาถ : ส่วนตัวอาจารย์อยู่ในทีมวิจัยที่พัฒนาสูตรนวัตกรรมวัฒนชีวา อยากให้เล่าเรื่องนี้หน่อยได้ไหม

รศ.ดร.ปรียา : ตัวนี้ผู้ที่พัฒนาก็คือ ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ท่านพัฒนามาจากประสบการณ์ของท่านเองในการเก็บข้อมูล ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ก็พบว่าสารสกัดที่ได้มาจากพืช ผลไม้ไทย ก็คือ บัวบก ฝรั่ง มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ปรากฏว่าทำไมพอใช้รักษาคนไข้กลุ่มมะเร็งทำให้คนไข้ดีขึ้นได้ กลุ่มมะเร็งที่หมดหวังแล้ว หรือ HIV ที่หมดหวังแล้วว่าจะต้องติดเชื้อไปอย่างนี้ตลอดชีวิต ปรากฏว่าทั้งสองกลุ่มนี้ดีขึ้น มีภาวะปลอดเชื้อได้ กลุ่มมะเร็งที่หมดหวังแล้วก็สามารถกลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ และในขณะเดียวกันร่างกายของคนกลุ่มนี้ก็ดูดีขึ้น เหมือนคนที่ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน

ท่านก็เลยเริ่มสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น จนกระทั่งมาเก็บข้อมูลดู ก็พบว่ามันไปเสริมสร้างเทโลเมียร์ได้ ทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น คนไข้กลุ่มนี้จึงมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ท่านก็เลยพัฒนาขึ้นมาอีกนิดหนึ่งใช้ชื่อว่า “นวัตกรรมวัฒนชีวา” เพื่อที่จะทำให้มีการสร้างเทโลเมียร์ได้ยาวขึ้น ย้อนวัย และชะลอวัยได้ ขณะเดียวกัน จุดที่สำคัญก็คือ สูตรนี้ไม่ทำให้ผู้ที่ใช้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เพราะเราพัฒนามาจากสูตรที่กำจัดเซลล์มะเร็งได้

ดร.นงค์นาถ : สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ไหนบ้าง

รศ.ดร.ปรียา : เข้าในFacebook และค้นคำว่า “ชีวี100ปีมีสุข” ก็จะเจอกับข้อมูล เกี่ยวกับ  นวัตกรรมวัฒนชีวา ศึกษาทำความเข้าใจได้ เพื่อทำให้ร่างกายเราแข็งแรง ย้อนวัยระดับ “โครโมโซม”


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น