Mitsubishi Electric ร่วมกับพันธมิตรเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลต่อเนื่อง ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ก้าวข้ามกับดัก “ภาษีคาร์บอน” ยกระดับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของโลก

บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าแนะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเร่งผลักดันการลดคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลาสติกและยางซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการทางภาษี​ ภายใต้แนวคิด “Drive SUSTAINABILITY in Manufacturing by DIGITALIZING AND DECARBONIZING for Plastic Industry” ในงาน พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2023 (Plastic & Rubber Thailand 2023) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 – 13 พฤษภาคม 2566 ณ​ ไบเทค บางนา​

นายวิเชียร​ งามสุขเกษมศรี​ กรรมการผู้จัดการ​ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) เผยว่า​ “ตลอดหลายปีที่ผ่านมา​ Mitsubishi Electric ได้ร่วมกับ​กลุ่มพันธมิตร Ecosystem​ พัฒนาและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล (Digitization) ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต​อย่างต่อเนื่อง ให้พร้อมรองรับการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Decarbonizing)​ เพื่อให้ธุรกิจเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เพราะในอนาคตอันใกล้นี้​ “ภาษีคาร์บอน” หรือการเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนจะกลายเป็นมาตรการสำคัญทางการค้าระหว่างประเทศ​ โดยเฉพาะใน​ตลาดสหภาพยุโรป​ รวมถึงสหรัฐอเมริกา​ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ​ 1 ของไทย​ นอกจากนี้​องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ยังได้ประกาศให้หน่วยงาน องค์กรอุตสาหกรรมต่าง​ ๆ​ ทราบแล้วว่า ประมาณปี 2568 ทุกองค์กรจะต้องถูกคิดภาษีคาร์บอน

ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งศึกษา​ ลงทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจก รวมถึงจัดทำระบบการเก็บข้อมูลด้านการลดหรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน เพื่อรักษาโอกาสทางการค้าและรวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก และรักษาฐานลูกค้าในต่างประเทศและเตรียมรองรับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะมีความเข้มงวดมากขึ้น​

โดยเฉพาะสินค้าจำพวกพลาสติกและยางซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับผล​กระทบจากมาตรการจัดเก็บภาษี​คาร์บอน​ การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน​ พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2023 (Plastic & Rubber Thailand 2023) ในครั้งนี้​ จึงเป็นความร่วมมือในการผนึกกำลัง​ของ​ Mitsubishi​ Electric และกลุ่มพันธมิตรในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและยางให้ยกระดับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของโลก

ดังนั้นเพื่อชี้นำแนวทางในการก้าวข้ามกับดักภาษีคาร์บอนดังกล่าว​ กิจกรรมในบูธของเราจึงมีการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายให้แต่ละอุตสาหกรรมได้เลือกนำไปใช้​ตามความเหมาะสม รวมทั้ง​ได้แนะนำ​ SCADA GENESIS64™ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่พัฒนาโดย​ Mitsubishi​ Electric  ที่จะช่วยวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมต่าง​ ๆ นำเสนอด้วยการแสดงภาพจำลองการปล่อยคาร์บอนแบบ Real-time ได้ทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี​

เพื่อให้นำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงระบบการผลิต ควบคุมการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เกินค่ามาตรฐานซึ่งจะนำไปสู่การได้รับการยกเว้นภาษี การลดภาษี หรือสร้างรายได้ขายเป็นคาร์บอนเครดิตให้กับโรงงานอื่น​ ๆ ที่ปล่อยคาร์บอนเกินมาตรฐานกำหนด​ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณค่าภาษีที่องค์กรหรืออุตสาหกรรมนั้น​ ๆ ต้องจ่ายจริง​ หรือคำนวณรายได้จากการขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย”

นอกจากนี้​ ภายในบูธยังได้จัดแสดงเทคโนโลยีดิจิทัล​  โรงงานต้นแบบ  แนวทางพัฒนา​และการให้คำปรึกษาจากกลุ่มพันธมิตรในโซนกิจกรรมพิเศษ Digitalizing & Decarbonizing Ecosystem​ รวมถึงการเจาะลึกวิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรระดับประเทศ ในหัวข้อ “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง ยกระดับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของโลก” โดยมีนายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการ สถาบันพลาสติก นายไกรศรี ภัณฑ์กิจนิรันดร ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส แผนกลยุทธ์และความยั่งยืน สังกัด กลยุทธ์แผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติร่วมงาน

ทั้งนี้การจัดงานของ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้จะนำไปสู่การยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้มีความทันสมัยเป็นระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน รวมถึงต้นทุนการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มโอกาสและความสามารถทางการแข่งขันได้ในตลาดโลก เป็นโรงงานอัจฉริยะภายใต้คอนเซ็ปต์ e-F@ctory​ ที่พร้อมตอบสนองแนวคิดสังคมไร้คาร์บอนที่แสดงถึงความสำเร็จที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่ง SCADA GENESIS64™ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยก้าวข้ามกับดักภาษีคาร์บอนในอนาคต


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น