เปิด DNA รพ.รวมใจรักษ์@สุขุมวิท 62 “แนวคิดใหม่” ในการดูแลสุขภาพ

สัมภาษณ์: นพ.สุนทร ศรีทา ผู้บริหาร และผู้อำนวยการ โรงพยาบาลรวมใจรักษ์@สุขุมวิท 62 

โดยดร.นงค์นาถ ห่านวิไล

ดร.นงค์นาถ: ช่วยเล่าถึงนิยามหรือมุมมองใหม่ในการดูแลสุขภาพ ของโรงพยาบาลรวมใจรักษ์

นพ.สุนทร: โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ เป็นโรงพยาบาลเปิดตัวใหม่ ทางผู้ก่อตั้งได้มองว่าเทรนด์ในอนาคต การดูแลสุขภาพ รักษาพยาบาลในโลกนี้ เป็นแบบไหนบ้าง และมองดูสภาพแวดล้อมบ้านเรา ในกลุ่มธุรกิจบริการสุขภาพเอกชน ก็มีแนวคิดว่าถ้าเราทำบริการแบบเดิมๆ คนไข้ก็อาจไม่จำเป็นที่ต้องมาเลือกเรา เพราะฉะนั้นเราควรต้องนำเสนอสิ่งที่ใหม่ และมีประโยชน์กับผู้รับบริการ ซึ่งเราโฟกัสอยู่ 2-3 เรื่องด้วยกัน ที่เรามองว่าเป็นแนวคิดใหม่

เรื่องแรกคือ การดูแลโดยสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ที่มีความหลากหลาย มีความรู้เฉพาะรวมทีมกันเพื่อที่จะให้ดูแลแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลเพราะแต่ละบุคคลมีความเป็นมา อายุ พันธุกรรม สภาพแวดล้อม การเจ็บป่วยต่างกัน เพราะฉะนั้นการที่ทำ mass treatment นี่อาจจะไม่ตอบสนองความเจ็บป่วยของแต่ละบุคคล และทางคนไข้อยากจะได้สหสาขาวิชาชีพ เราก็มองว่าการที่เรามีสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ในสาขาต่างๆ ที่ครบถ้วนมันจะช่วยทำให้การดูแลคนไข้เป็น personalization เรียกว่า เป็นการดูแลที่มันตรงจุด และถูกต้อง

อย่างที่ 2  การเข้าถึงบริการที่ง่าย บริการที่ดี ในราคาสมเหตุสมผล โรงพยาบาลเราก็เน้นออกแบบการดูแลรักษาคนไข้ ให้มีความสมเหตุสมผล ให้คนไข้ชนชั้นกลางเข้าถึงได้ง่าย

อย่างสุดท้าย เรามองว่าเทรนด์แนวคิดใหม่ในอนาคตในเรื่องของการดูแลที่เป็นเทคโนโลยี โดยเฉพาะในเรื่อง digitalize healthcare คือ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ เครื่องมือทางการแพทย์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนดูแลรักษาคนไข้ ทำให้เกิดความรวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อน ลดความเสี่ยง และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

ดร.นงค์นาถ: โรงพยาบาลรวมใจรักษ์แตกต่างจากคู่แข่งอย่างไรบ้าง

นพ.สุนทร: เรามองอยู่ 4-5 ด้านในการที่จะนำเสนอข้อแตกต่างให้เกิดขึ้น อย่างแรกคือ แพทย์ เราคัดสรรแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เรียกว่าจบอนุสาขาของความเชี่ยวชาญนั้น เช่น แพทย์กระดูกไม่ใช่ศัลยกรรมกระดูกทั่วไป เรายังแบ่งออกเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง hand surgery แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกระดูกสันหลัง เชี่ยวชาญเรื่องข้อเข่า และสะโพก hip & knee เรื่องกระดูกข้อเท้า

อย่างที่ 2 เราไม่มีข้อแตกต่างในเรื่องการบริการ การดูแล มารยาท การเอาใจใส่ เรียกว่าเป็นความต้องการของลูกค้า อย่างต่อมาเป็นเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เราพยายามสรรหาเครื่องมือแพทย์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด อย่าง CG ก็เป็นของบริษัท GE รุ่นใหม่ล่าสุด ที่มีความเร็วถึง 443 สไลด์ต่อนาที  MRI ของเราก็เป็นระบบ 3Tesla ซึ่งมีความคมชัดสูงช่วยให้การตรวจเร็วขึ้นของเราใช้เวลา 15-30 นาที ก็เสร็จแล้ว นอกจากนี้เราจัดการบริการให้มีความรวดเร็ว และราบรื่น นอกจากนี้บรรยากาศเราออกแบบให้ดูทันสมัย โมเดิล คลีน ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลเราไม่ได้เน้นความหรูหรา แต่เราเน้น smart & comfort ดังนั้น ต้นทุนในการสร้างก็ไม่ได้ทำให้บริการแพงไปด้วย ทั้งหมดนี่คือ ความแตกต่างที่เรามีต่างจากคู่แข่ง

ดร.นงค์นาถ: จุดเด่นเรื่องการแพทย์ และ service เป็นอย่างไรบ้าง

นพ.สุนทร: เราพยายามเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่เป็น Hi-end และโรงพยาบาลที่เป็นระดับกลาง คิดว่าในเรื่องของราคา เราอยู่ระหว่างกลางของ 2 โรงพยาบาลนี้ ถ้าเทียบกับโรงพยาบาล Top tier เรียกว่าราคาเราอยู่ระดับ 75% ในขณะที่คุณภาพการให้บริการ เครื่องไม้เครื่องมือ ความสามารถของแพทย์ คิดว่าเราไม่ได้ด้อยกว่าโรงพยาบาลเหล่านั้นเลย โรคต่อโรค แพ็กเกจ ต่อแพ็กเกจเราคิดว่าราคาเราสมเหตุสมผลและเข้าถึงได้

ดร.นงค์นาถ:  ทราบว่ามีศูนย์การรักษาหลายศูนย์ใช่ไหม

นพ.สุนทร: เรามีศูนย์ และแผนกให้บริการถึง 22 แผนกในโรงพยาบาล เช่น ศูนย์ทางด้านอายุรกรรม เรามี เบาหวาน ประสาท โรคไต สมอง หัวใจ มะเร็ง โรคผู้สูงอายุ  ศูนย์เด็ก หู ตาคอ จมูก เรามีแบ่งย่อๆ ตามโรคไป ในช่วงแรกเราก็จะเน้น 4 บริการก่อน

1.ศูนย์อุบัติเหตุ และฉุกเฉิน เรามีความพร้อม มี smart ambulance ออกไปรับคนไข้ที่จุดเกิดเหตุ ในรถมี tele-consult ที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล แพทย์จะเห็นคนไข้ตั้งแต่ที่คนของเราไปถึงที่เกิดเหตุ และประเมินได้ตั้งแต่ที่เจอคนไข้ จนมาถึงโรงพยาบาล และถ้าจำเป็นเราก็สามารถส่งแพทย์ไปได้  ทำให้การช่วยชีวิต มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

อย่างที่ 2.ศูนย์โรคหัวใจ เรามีแพทย์ และอุปกรณ์ที่ครบครัน

อย่างที่ 3.การตรวจสุขภาพ เราคิดว่าเป็นพื้นฐานของคนไทย ในความเป็นจริงการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอคนไทยเรายังมีน้อย

ศูนย์ที่ 4. การผ่าตัดด้วยกล้อง แผลเล็ก จะทำให้บาดแผลน้อยหายเร็ว และกลับบ้านได้เร็ว

ดร.นงค์นาถ: ที่นี่ให้บริการ doctor to doctor นี่เป็นแบบไหน

นพ.สุนทร: โรงพยาบาลเราไม่สามารถมีหมอที่เชี่ยวชาญทุกสาขา นั่งอยู่ในโรงพยาบาลตลอดเวลา เราจึงมีระบบ tele-consult ให้แพทย์เชื่อมต่อตลอดเวลาเมื่อฉุกเฉิน เราสามารถทำ tele-med ปรึกษาระหว่างแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ ที่อยู่นอกโรงพยาบาลได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คนไข้ได้รับการดูแล ประเมิน และวางแผนการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรามีแพทย์ part-time หรือแพทย์ที่ให้ปรึกษาทุกสาขารวม 300 คน

ดร.นงค์นาถ: ความเป็น digital hospital สำคัญอย่างไรกับการบริการสำหรับโรงพยาบาลในวันนี้

นพ.สุนทร: digital hospital เป็นระบบการบริการ ของโรงพยาบาล มีความเสถียร ความผิดพลาดเกิดน้อย และมีความรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน digital มี back-up ระบบ AI หลายๆ อย่างที่ทางการแพทย์นำมาใช้ทำให้แพทย์ไม่ตกหล่น หรือ มองข้ามในเรื่องต่างๆ ไป เช่น เราเคลียร์ขึ้นมาหนึ่งตัวระบบ AI ก็จะขึ้นมาเลยว่ายาตัวนี้ไม่ควรจ่ายร่วมกับยาตัวนั้น ยาตัวนี้อาจจะมีผลข้างเคียงหนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า อันนี้ เป็นระบบ AI support ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ อย่างฟิล์ม x-ray พอมีระบบ AI ก็จะวงมาให้เลยว่าตรงนี้ผิดปกติ แพทย์ก็จะนั่งดูว่าผิดปกติอย่างไร


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น