SBTP : คลาสรูม ปั้นเอสเอ็มอี..ก้าวสู่ “โลกดิจิทัล”

ภาพจาก https://thefinlab.com/thailand

UOB จัดทำโครงการ Smart Business Transformation Programme ปีที่ 2 ช่วยเอสเอ็มอีทรานส์ฟอร์มสู่โลกดิจิทัล เพิ่มยอดขาย และพร้อมสนับสนุนธุรกิจสู่ประเทศในอาเซียนที่ธนาคารมีเครือข่าย

สิรินันท์ จิรดิลก SVP Digital Engagement &FinTech Innovation ธนาคาร UOB กล่าวว่า จากผลสำรวจของยูโอบีเกี่ยวกับเอสเอ็มอีในอาเซียนที่ต้องการทรานส์ฟอร์มตัวเองในปี 2020 พบว่าเอสเอ็มอีในประเทศไทยต้องการการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนถึง 70% รองลงมาคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย แม้แต่ช่วงโควิด-19 เอสเอ็มอีในไทยก็ยังมองว่าการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ

สิรินันท์ จิรดิลก

ซึ่งการที่เอสเอ็มอีต้องการจะเอาเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนการทำงาน หรือช่วยยอดขายเจริญเติบโตขึ้น สิ่งที่ยากที่สุดก็คือก้าวแรก นั่นก็คือไม่รู้ว่า Priority ที่ตัวเองต้องการคืออะไร ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่เราต้องการจะได้ก่อน เช่น ถ้าเรามีร้านค้าที่เป็นออฟไลน์ ในช่วงโควิด-19 ไม่สามารถเดินทางไปซื้อของที่ร้านได้ จะได้รับผลกระทบมาก ความต้องการของเราก็คือต้องผันตัวเองขึ้นมาอยู่ในโลกออนไลน์ Priority คือความสำคัญระดับแรกๆ ที่จะต้องทำ

จะเห็นได้ว่าจากผลสำรวจระบุว่าธุรกิจที่ต้องการการปรับเปลี่ยนมากที่สุดในอาเซียนก็คือธุรกิจร้านอาหาร จากเดิมอาจจะขายที่ร้านธรรมดา ก็ต้องผันตัวเองมาขายบนออนไลน์ โดยโควิด-19 มีส่วนเร่งให้ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นเกิดเร็วขึ้น ซึ่งความสำคัญด้านการขายก็มาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ในแต่ละธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีความสำคัญแตกต่างกัน บางธุรกิจอาจไม่ได้มองว่าการขายบนอีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง อาจจะมองว่าการปรับเปลี่ยนระบบหลังบ้าน ระบบบัญชี เป็นความสำคัญเร่งด่วนอันดับหนึ่ง ดังนั้นในแต่ละเอสเอ็มอีต้องมองตัวเองก่อนว่าต้องการอะไรเป็นอันดับแรก

ยูโอบีจัดทำโครงการ Smart Business Transformation Programme หรือ SBTP เป็นปีที่ 2 แล้ว โดยปีที่แล้วเราช่วยเอสเอ็มอีทรานส์ฟอร์มตัวเอง คือเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทั้งหมด เป็นผลสำเร็จ 15 เอสเอ็มอี จากที่เรานำเอาเอ็มอีที่เข้าโครงการมาทำเวิร์กชอป มาพูดคุย มาให้ความรู้ ทั้งหมดเกือบพันเอสเอ็มอี หลังจากนั้นเราก็เลือกเอสเอ็มอีที่พร้อมที่จะทำ ที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทันที

ซึ่งมี 15 เคส เป็นกรณีศึกษาที่สามารถเร่งยอดขาย หรือแก้ปัญหาธุรกิจได้ เช่น เช่น บริษัทวอริกซ์ ที่ผลิตเสื้อกีฬานักฟุตบอลทีมชาติไทย ก็เข้าโครงการกับเรา ก็นำเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการขายบน B2B B2C ก็สามารถเร่งยอดขายได้เป็นหลายร้อยเท่า หลังจากที่หมดโปรแกรมไปกับเรา อีกรายก็คือ โอเรียนสตาร์ เป็นบริษัทโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ ก็เข้าโครงการกับเรา เอาเรื่อง Data Analytics และ Data Visualization ไปช่วยในการตัดสินใจทางด้านธุรกิจ

สิรินันท์ กล่าวว่า โครงการ SBTP เป็นโครงการระดับภูมิภาค ไม่ใช่ยูโอบีไทยแลนด์เท่านั้น ซึ่งยูโอบีมีสาขาในหลายประเทศในเอเชีย โครงการนี้เราทำที่ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียด้วย จุดเด่นของโปรแกรมนี้คือเราจะเอาความรู้จากภูมิภาคอื่นมาช่วยสนับสนุนเรา ในขณะเดียวกันเราเอาความรู้จากประเทศไทยออกไปได้เช่นกัน ซึ่งปีนี้สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ ATSI ได้เข้าร่วมโครงการกับยูโอบี

ปีที่แล้ว เนื่องจากเราทำเป็นปีแรก บริษัทเทคโนโลยีที่นำมาให้คนไทยได้ลองใช้เป็นของต่างประเทศทั้งหมด คือเป็นของสิงคโปร์ และมาเลเซีย ปีนี้เราอยากให้เอสเอ็มอีไทยได้มีโอกาสใช้ Tech Solutions ของคนไทยมากขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาเรื่องการสื่อสาร ปีที่แล้ว อาจต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ บางทีเอสเอ็มอีอาจอยากพบเจอ แต่ไม่ถนัดเรื่องการทำประชุมออนไลน์ แต่ปีนี้พอเป็น Tech Solutions ที่เป็นคนไทย ตรงนี้ก็จะถูกแก้ไขให้ดีขึ้น

ATSI นั้นมีอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อยู่ในเน็ตเวิร์กเยอะมาก แต่ละโซลูชั่นก็ดีและเป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีไทยมาก ยูโอบีก็คุยกับ ATSI ซึ่ง ATSI ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือ ปีนี้ก็เลยมีบริษัทเทคโนโลยีในโครงข่ายของ ATSI เข้ามาร่วมเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับเอสเอ็มอี และเรายังสามารถที่จะแนะนำบริษัทซอฟต์แวร์ไทยที่สังกัด ATSI ให้เอสเอ็มอีต่างประเทศได้ด้วย ทางต่างประเทศเราก็เอาบริษัทที่น่าสนใจเข้ามา ทางประเทศไทยเราก็จะแนะนำออกไป เรียกว่าเป็นจุดเด่นของธนาคารคือเราสามารถเชื่อมโยงเน็ตเวิร์กระดับภูมิภาคได้

สิรินันท์ กล่าวว่า โปรแกรมนี้เปิดฟรีไม่เสียค่าสมัครใดๆ ปีที่แล้วเราเห็นว่ามีเอสเอ็มอีเยอะมากที่เข้าร่วมโปรแกรม เพราะอยากทรานส์ฟอร์มตัวเอง ปรับเปลี่ยนตัวเองมากๆ แต่ปีที่แล้วเราเพิ่งเริ่มโครงการ จำนวนบุคลากรที่ทำงานในโครงการค่อนข้างน้อย จึงไม่ทั่วถึง ปีนี้เราอยากจะช่วยเอสเอ็มอีให้มากขึ้น ก็เลยทำแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นมา

โดยสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา แล้วสมัครสมาชิกได้ฟรี ในนั้นจะมีทรัพยากรต่างๆ ที่เอสเอ็มอีสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าคอร์สออนไลน์ต่างๆ จะมีคนมาให้ความรู้ อาจเป็นอาจารย์จากสถาบันการศึกษาจากสิงคโปร์หรือมาเลเซียที่ดังๆ ทุกคนเราจะอัดวิดีโอไว้ แล้วมี Subtitle เอสเอ็มอีสามารถเข้าไปฟังและได้ความรู้ หลังจากนั้นเอสเอ็มอีบางคนอาจอยากประเมินตัวเอง สามารถเข้าไปทำเทสต์ได้ว่าความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีของตัวเองนั้นอะไรสำคัญมากที่สุด จะเป็นดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง หรือทำเป็นโมบายแอปพลิเคชั่น สามารถเข้าไปทำเทสต์ได้เลย ก็จะรู้เลยว่าตัวเองต้องการอะไร

หลังจากนั้น เอสเอ็มอีสามารถที่จะเลือกเทคโนโลยีที่ตัวเองต้องการได้ผ่านการทดสอบอีกอันหนึ่ง ซึ่งแบบทดสอบจะแนะนำว่าเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในเครือข่ายคือบริษัทไหน และที่สำคัญคือมีส่วนลดพิเศษให้ด้วย ที่จะไม่ได้จากที่อื่น ทุกอย่างจะรวมอยู่บนเว็บไซต์ทั้งหมด

ถ้าเอสเอ็มอีที่สนใจอยากเข้าร่วมโปรแกรมโครงการนี้ อยากมาเข้าเวิร์กชอปก่อน ให้เข้าไปสมัครสมาชิกได้ที่ www.thefinlab.com/thailand หรือที่ https://www.facebook.com/thefinlab.th โดยเราจะมีเวิร์กชอปในวันที่ 3 ก.ย.นี้ เวลา 14.00 น. สามารถเข้ามาร่วมได้เป็นออนไลน์เวิร์กชอป ที่สำคัญคือฟรี ปีนี้เราเปลี่ยนตัวเองเป็นออนไลน์เพื่อที่จะซัพพอร์ตเอสเอ็มอีได้เยอะมากขึ้น จากปีที่แล้ว 15 ราย ปีนี้เราตั้งเป้าไว้ 150 ราย

สิรินันท์ กล่าวว่า The FinLab นั้นเป็นบริษัทลูกของยูโอบี จะมีพวกเทคโนโลยีโซลูชั่น พวกสตาร์ทอัพ เขาเติบโตจากการช่วยสตาร์ทอัพมาก่อน ทางยูโอบีเล็งเห็นว่าเอสเอ็มอีที่ต้องการปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่โลกดิจิทัลก็ต้องการเทคโนโลยีพวกนี้ด้วย ก็เลยมาเป็นพาร์ตเนอร์กัน ซึ่งทีมงานที่ช่วยซัพพอร์ตโปรแกรมนี้ก็มาจาก The FinLab เวลาที่เราทำงานก็จะมีทีมฟินแล็บไทย ฟินแล็บสิงคโปร์ ฟินแล็บมาเลเซีย ทำงานร่วมกัน

เอสเอ็มอีที่เข้าโครงการกับเรา ถ้าเขาปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ดิจิทัลแล้ว บางรายที่สนใจขยายธุรกิจตัวเองไปอาเซียน เราก็ช่วยเหลือด้วย อย่างวอริกซ์ที่อยากขยายธุรกิจไปประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ ที่เรามีเครือข่ายอยู่แล้ว เราก็ช่วยดำเนินการได้ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของธนาคาร นอกจากนี้ เราช่วยขอทุนให้ด้วย เราร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. โครงการ ITAP ที่สนับสนุนบริษัทเอสเอ็มอีที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ สามารถขอรับทุนได้ เราจะช่วยเป็นตัวกลางดำเนินการให้ เพราะฉะนั้นโครงการนี้ถือว่าครบเครื่อง  @

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น