การใช้เทคโนโลยีเอาตัวรอด & รับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด กรณีศึกษากราดยิงโคราช

ภาพจาก Facebook : Terminal21 Korat Shopping Mall

เหตุกราดยิงที่ห้างสรรพสินค้า Terminal 21 จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความตระหนักว่าเราควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ฟังก์ชั่นต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นหนทางที่จะช่วยเหลือเราในยามคับขัน

ศุภสิริ ไพรศุภา CEO บริษัท ใช้หัวคิดส์ จำกัด กล่าวว่า เหตุกราดยิงที่โคราชเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เชื่อว่าเหตุการณ์แบบนี้คงไม่เกิดครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นเหตุก่อการร้าย กราดยิง สึนามิ ภัยธรรมชาติ ถ้าเรารู้ ระแวดระวัง และเตรียมพร้อม เราจะสามารถตั้งรับ และมีสติได้อย่างมั่นคง ทำให้แก้ปัญหาได้ดีกว่า ขณะที่เทคโนโลยีในมือเราก็ต้องให้ความรู้ และจะต้องมาควบคู่กับสติ

ศุภสิริ ไพรศุภา

เทคโนโลยีปัจจุบันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ปีนี้ที่มาแรงคือเรื่องของเฟคนิวส์ ดังนั้นการที่เราเสพสื่อก็ต้องเสพอย่างมีสติ และไม่ได้เสพจากแชนแนลเดียว อาจตรวจสอบจากหลายๆ แชนแนล เพราะเอไอสามารถสร้างเฟคนิวส์ได้ สร้างหน้าเรา ขยับปาก และพากษ์เสียงเหมือนจริงเลย ถือเป็นเฟคนิวส์ที่มีความล้ำสมัย ดังนั้นเราอย่างเพิ่งเชื่อ อย่าเพิ่งแชร์ ต้องตรวจสอบก่อน

ในวันเกิดเหตุ คนที่ทำเฟคนิวส์เขาต้องการสร้างให้เราเกิดอารมณ์ร่วมในเหตุการณ์นั้น แล้วก็กลัว บางทีคนที่อยู่ข้างนอกห้าง Terminal 21 จะกลัวและกังวลมากกว่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์ หลายคนเกาะขอบจอทีวีอยู่ถึงเช้า ก็จะเกิดความเครียดกับการเสพข่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง

ถ้าเจอเหตุกราดยิงแบบโคราช ศุภสิริแนะนำว่าการจะเอาตัวรอดและช่วยเหลือคนอื่นนั้น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือ เช่น การปิดเสียง ปุ่มเสียงจะไม่ได้มีปุ่มเดียว มีปุ่มโนติฟิเคชั่น ปุ่มมีเดีย การปิดแสง ไวไฟ ซึ่งบางคนไม่รู้ ก็ต้องบอกเขาว่ามีฟังก์ชั่นแบบนี้อยู่ สอนให้เขาปิดเสียง เพราะบางคนปิดเสียง แต่ไลน์ไม่ได้ปิด เพราะไม่รู้ว่าโนติฟิเคชั่นของไลน์ปิดได้ เราควรต้องให้ความรู้เขา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่

นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นแชร์โลเคชั่น สามารถใช้ส่งให้ญาติขณะเกิดเหตุได้ ซึ่งในเฟสบุ๊กก็มีฟังก์ชั่นนี้อยู่
เราต้องฝึกให้ผู้ใหญ่และเด็กรู้ว่ามีฟังก์ชั่นนี้อยู่ และหัดใช้ ส่วนเรื่องไลฟ์สดก็มีทั้งข้อดีและเสีย ถ้าใช้อย่างถูกต้อง
ก็เป็นข้อดี กรณีนี้ผู้ก่อเหตุสามารถเข้าถึงสื่อได้เช่นเดียวกัน เขาสามารถรู้ได้เลยว่าคุณอยู่ตรงไหน

ดังนั้น คุณควรต้องรู้ว่าตอนไหนควรใช้และไม่ควรใช้ไลฟ์สด ซึ่งกรณีฉุกเฉินแบบนี้ไม่ควรใช้ แต่อาจส่งให้เป็น
วิดีโอ หรือคุยโดยการพิมพ์ข้อความให้ที่บ้านและครอบครัวจะปลอดภัยกว่า เพราะในเหตุการณ์เราไม่ควร
ใช้เสียงอยู่แล้ว แล้วให้คนข้างนอก ให้หน่วยอื่นมาช่วยเรา จะปลอดภัยกว่า

ส่วนกรณีสื่อไลฟ์สด คนก็อยากดูอยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็จะมีภาพบางอย่างที่ไม่ควรแชร์ หรือทำให้เจ้าหน้าที่
ปฏิบัติการยากขึ้น แต่สิ่งสำคัญกว่าคือการช่วยเหลือคนให้ปลอดภัย ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่าอะไรที่สำคัญ ไม่ใช่
อยากได้เรตติ้ง อย่างนี้ก็ไม่ถูก สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกในประเทศไทย ทั้งสื่อ ทหาร
ตำรวจ หรือเราเองก็ปฏิบัติตัวไม่ถูก ดังนั้น เราต้องตระหนักและเรียนรู้เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัวเรา โดยเฉพาะมือถือ
ควรเข้าใจว่ามีฟังก์ชั่นอะไรที่เราควรใช้

สำหรับการส่งข้อความนั้น ศุภสิริ กล่าวว่า ควรส่งอินบ็อกซ์ไปในกลุ่มแยก อย่าส่งไปในสาธารณะ เพราะผู้ก่อเหตุ
ก็เข้าถึงสื่อได้ เราควรต้องหาคนที่เป็นคอนแทคพอยท์ที่จะช่วยเหลือเราได้จะดีกว่า และเมื่อเราใช้ช่องทาง
โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีค่อนข้างเยอะ ก็จะมีตัวที่เรียกว่า Digital literacy ที่เราควรจะต้องศึกษา รู้เท่าทัน
และใช้อย่างถูกต้อง

เพราะการที่เราจะแชร์ ไลฟ์สด หรือวิดีโอ ทุกอย่างจะมีผลตามมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลต่อครอบครัวของผู้ที่โชคร้าย
หรือผลต่อคนที่รับสื่อ มีผลทุกด้านเลย ดังนั้น ถ้าเราแชร์ไปโดยที่ไม่ทันคิด ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบที่ยาก
เกินจะเยียวยา อย่างเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้น ผลกระทบทางจิตใจนั้นล้างยากกว่าผลกระทบอื่นๆ

สำหรับ Digital literacy ที่อยากฝากไว้ คือ เรื่องของการแชร์ ควรรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรแชร์ ไม่เฉพาะ
เหตุการณ์นี้ แต่รวมถึงเรื่องส่วนตัว ในต่างประเทศจะรณรงค์มากในเรื่องของ Digital Footprint เพราะมันก่อ
ให้เกิดเรื่องของไซเบอร์บูลลี่ได้ สังคมเราอาจไม่ได้ตระหนักเรื่องนี้เยอะ การล้อเลียน การว่ากล่าว การทับถม
ซึ่งเหตุเหล่านี้สามารถพัฒนาเป็นเหตุร้ายแรงอื่นๆ ต่อได้

ในสังคมเราจะมีกลุ่มคนหลักๆ ที่มีผลพลอยได้จาก Digital Footprint หรือไซเบอร์บูลลี่ หรือการโดนกระทำ
ต่างๆ จะมีหลักๆ 2 อย่าง คือรับได้ กับรับไม่ได้ ถ้ารับได้คือไปต่อ แต่เขาก็เก็บไว้เป็นแผลในใจ แต่ถ้ารับไม่ได้
เขาจะมีการลงมือบางอย่างเกิดขึ้น ถ้ารับได้แล้วลงกับตัวเอง ก็จะเห็นเป็นข่าวฆ่าตัวตาย ถ้ารับไม่ได้ แต่ไปลง
กับคู่กรณีก็จะเป็นข่าวอาชญากรรม ที่โคราชเป็นแบบรับไม่ได้ และลงกับผู้อื่น เพราะเขาลงกับคู่กรณีแล้ว
แต่เขากำลังจะบอกให้คนอื่นรู้ว่ามันมีความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เขาโดนกระทำ

แล้วจิตคนเรามีหลายเลเวล คือหลุดแล้ว ก็จะเกิดเรื่องของแอคทีฟชูตเตอร์ขึ้นมา ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่รู้ว่า
จะเกิดเมื่อไร เหมือนคนฟิวส์ขาด ยิงกราด หรือไล่แทง ดังนั้น ถ้าเราจะมองกลับไปดูเรื่องการรณรงค์เรื่องบูลลี่
หรือการกลั่นแกล้ง ไม่ว่าจะทางตรงทางอ้อม บนไซเบอร์หรือออฟไลน์ เรารณรงค์กันมากพอหรือไม่ อยากจะ
ให้มองว่าความจริงแล้วเรื่องที่เรามองว่าเล็ก มันพัฒนาเป็นเรื่องใหญ่ได้

“บทเรียนจากเหตุกราดยิงที่โคราช จะต้องรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องทำอย่างไร แชร์ในสิ่งที่ควรจะแชร์ และแชร์ให้กับคนที่คุณควรจะแชร์ บางอย่างไม่ควรจะพับลิก ระวังเรื่อง Digital Footprint เพราะเหตุการณ์วันนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า คนก็ยังกลับมาดูได้ ส่วนเรื่องเฟคนิวส์ ต้องมีสติ เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์ และต้องเรียนรู้เทคโนโลยีของมือถือ ฟังก์ชั่นต่างๆ ปิดเสียงอย่างไร ปิดโนติฟิเคชั่นในไลน์ ปิดเสียงของแอปพลิเคชั่น หรือมีเดีย หรือริงโทน การแชร์โลเคชั่น ถ้ามีเฟสบุ๊กก็ใช้เฟสบุ๊ก หรือ ตัวแทร็กกิ้งที่ผู้ปกครองใช้กับเด็ก เป็นจีพีเอสแทร็กว่าลูกอยู่ที่ไหน ตัวนั้นก็ใช้ได้”

ศุภสิริ กล่าวว่า เหตุการณ์แบบนี้จะทำให้เกิดพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ ในต่างประเทศก็มีเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดังนั้นการเฝ้าระวัง ก็ต้องให้ความรู้ เพราะว่าการกลัวไม่ได้ช่วยอะไร แต่กลัวแล้วต้องให้ความรู้เชิงปฏิบัติเพื่อให้
คนเข้าใจ แล้วเกิดการลงมือทำ ก็จะลดการสูญเสียได้

ส่วนตัวมองว่าไลฟ์สกิลมีความสำคัญมากกว่าเทคโนโลยี เพราะไปที่ไหนคุณจะต้องมีไหวพริบในการเอาตัวรอด
และเมื่อเรามีเทคโนโลยี เราก็สามารถเรียนรู้และเอาตัวรอดได้ เด็กที่เรียนเก่งไม่ได้หมายความว่าจะมีทักษะชีวิตที่เก่ง
ดังนั้น การพัฒนาด้านการเรียนรู้จะต้องไปควบคู่กันกับเรื่องทักษะชีวิต โดยจะต้องสอนกันตั้งแต่เด็กๆ  @

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น