Gross National Happiness “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ทำไม ” ภูฏาน “ ทำได้

จิกมี วาย ทินเลย์ นายกรัฐมนตรี ของ ภูฏาน กล่าวไว้ เมื่อ2-3 ปีที่ผ่านมา ถึง ที่มาของ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ ( Gross National Happiness: GNH) สำคัญยิ่งกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ( Gross National Product : GNP”  ว่า เป็นเอกลักษณ์ของเรา และนำพาชีวิตเรา ทั้งในเรื่องการพัฒนา และการอยู่ในโลกใบนี้ ผมไม่เคยได้ยินกษัตริย์ของเราพูดคำว่า “การเติบโตด้านเศรษฐกิจ” เลย ดังนั้นผมเดาว่า พวกเรามัวแต่คิดถึงตัวเอง และรักษาระยะห่างให้อยู่โดดเดี่ยว “เป็นลูกบอลอันแปลกประหลาด” ในโลกที่ถูกครอบงำด้วยเรื่องของการเติบโตและลัทธิวัตถุนิยม โดยช่วง 2-3 ปีนี้เอง ที่ผมรู้สึกละอายใจที่พบว่าประเทศเล็กๆ อันห่างไกลของเรา ได้รับการจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ และยังเป็นที่อิจฉาของโลกที่ไม่พึงพอใจอย่างยิ่งยวดกับวิธีดำเนินชีวิตของพวกเขา

ด้วยความสัตย์จริง เราใช้เวลาหลายปีหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการนำเสนอ “จีเอ็นเอช” ในความหมายอันเป็นที่ยอมรับ และแปลมาสู่ภาคปฏิบัติอย่างง่ายๆ ในเรื่องของ มุมมอง แนวคิด และคำโดยตัวของมันเอง ตอนนี้ผมรู้ว่า ทางเลือกนี้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว สำหรับโลกใบนี้ และทุกสิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยร่วมกันอยู่บนโลก เช่นเดียวกับพวกเราทั้งหลาย เราไม่มีทางเลือก แต่เราสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า พวกเรามีคุณค่าพอสำหรับการถูกจับจ้องในสิ่งที่เราเป็นอยู่ ด้วยการกระทำในสิ่งที่เราทำอยู่ และผมเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยว่า ไม่มีอะไรจะมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และเป็นแนวทางที่ทรงอิทธิพลกว่านี้อีกแล้ว ที่จะนำแนวคิดเรื่อง “จีเอ็นเอช” แบบเต็มขั้นลงไปสู่ภาคปฏิบัติ และตระหนักถึงเป้าหมายและวิสัยทัศน์ซึ่งเราร่วมแบ่งปันกัน-ไม่ใช่เพียงแค่การแยกทำเป็นชิ้นๆ อย่างขัดอกขัดใจ แต่เป็นการรวมกันของความตระหนักร่วมกันในระดับชาติ และแปลภาษาอย่างธรรมชาติสู่การปฏิบัติแบบรู้แจ้ง มากกว่าที่จะจับไปใส่ในระบบการศึกษาอย่างเต็มตัว รวมทั้งต้องมีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และความเห็นอกเห็นใจกันด้วย

สิ่งที่พวกเราทำอยู่ที่นี่ ในห้องนี้ ในสัปดาห์นี้ ไม่ได้สำคัญเพียงแค่ในอาณาจักรแห่งหิมาลัยเล็กๆ แห่งนี้ แต่ยังรวมไปถึงทั้งโลก สำหรับมนุษยชาติ และสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช้มนุษย์ ซึ่งความอยู่รอดทั้งหลายขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเราเหล่ามนุษย์เป็นผู้กระทำ เรายังตระหนักอย่างยิ่งว่า อะไรที่พวกเรากำลังพยายามทำกันอยู่ที่นี่ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันไม่มีโรดแมป ดังนั้นสิ่งที่พวกท่านจะแบ่งปันให้กับภูฏานครั้งนี้ จะส่งผลให้ต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษา รวมถึงสังคมที่ใหญ่ขึ้นไปอีก และกว้างไกลเกินกว่าอาณาเขตของประเทศนี้

 

พวกเราที่ภูฏาน ได้ใช้เวลาหลายปีพยายามหาคำจำกัดความ ความเข้าใจ และสรุปยอดความคิดของเราไปรอบๆ สิ่งที่พวกเราให้คุณค่าภายใต้คำว่า “จีเอ็นเอช” และผมเชื่อว่า พวกเราได้บรรลุผลบางส่วนจากความพยายามนั้นแล้ว สิ่งที่เริ่มต้นจริงๆ ก็เหมือนกับความรู้สึกหรือสัญชาติญาณที่ขณะนี้ได้ถูกสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจน แสดงออกมา หรือแม้กระทั่งสามารถวัดออกมาได้ในแง่ของความลึกและรายละเอียด :

 

–              อย่างแรกก็คือ ตอนนี้เราสามารถจำแนกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนขององค์ประกอบด้าน “ความสุข” ในความสุขมวลรวมประชาชาติ ออกมาจากคำอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน เช่น “ความรู้สึกดีๆ” ที่สร้างความพึงพอใจให้ เป็นต้น เรารู้ว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นไม่สามารถคงอยู่ได้ในขณะที่คนอื่นๆ กำลังเป็นทุกข์ และจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อราได้ทำอะไรให้คนอื่น, การมีชีวิตอยู่อย่างกลมกลืนไปกับธรรมชาติ และการรับรู้ถึงปัญญาที่มีมาแต่กำเนิด ตลอดจนธรรมชาติที่แสนวิเศษและเป็นจริงแท้ของจิตใจเราเอง

 

–              ประการต่อมา คือ พวกเราจำกัดความคำว่า “จีเอ็นเอช” ว่าเป็นเส้นทางแห่งการพัฒนาที่จะช่วยรักษาสมดุลให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม ด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อม มีหลักธรรมาภิบาล เปี่ยมไปด้วยพลังคิดสร้างสรรค์และปัญญาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของเรา

–              ประการที่ 3 คือ พวกเรายังได้พัฒนาดัชนี “จีเอ็นเอช” ซึ่งเป็นการวัดโดยเงื่อนไขต่างๆ ทั้ง การอยู่ดีมีสุขทั้งทางร่างกายและสุขภาพจิต ความแข็งแกร่งของชุมชน ความมีสมดุลทั้งด้านการใช้ชีวิตและการทำงาน มาตรฐานการครองชีพ ความมีส่วนร่วมทางการเมือง และความพากเพียรต่างๆ ของมวลมนุษย์

–              และประการที่ 4 พวกเราให้ความสำคัญกับภาคการศึกษา ว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวภาคส่วนต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าเราไม่ตระหนักถึงโลกแห่งธรรมชาติเสียแล้ว พวกเราจะช่วยปกป้องโลกใบนี้สำเร็จได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่า การสูบบุหรี่ อาหารขยะ รวมถึงการไม่ออกกำลังกายนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ แล้วเราจะมีพลเมืองที่สุขภาพดีได้อย่างไร ถ้าเราเมินเฉยต่อเรื่องการเมืองและประเด็นระดับชาติ แล้วเราจะจัดให้มีการลงคะแนนเสียงได้อย่างไร ถ้าเราละเลยคำสอนที่แสนวิเศษของท่านคุรุรินโปเช, ท่านซับดรุง งาวัง นัมเกล (Zhabdrug Ngawang Namgyal) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รวมภูฏานเข้าด้วยกัน รวมถึงศาสดาผู้ยิ่งใหญ่อีกหลายๆ ท่านที่สั่งสอนและปฏิบัติในภูฏาน แล้วเราจะซาบซึ้งกับวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นของเราได้อย่างไร เราจะทำอะไรให้กับโลกได้อย่างไร

 

ถ้าเราต้องการช่วยกันและช่วยโลก ตอนนี้เราต้องลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อทำให้สิ่งที่เราพูดกันไปทั้งหมดนี้เกิดขึ้น และไม่ได้ทำเพราะแค่เป็นเพียงวิสัยทัศน์ของกษัตริย์เรา แต่ทำเพื่อให้เกิดแบบอย่างที่มีค่าและตัวอย่างจริงให้กับโลกที่กำลังสิ้นหวังต่อจิตใจที่แข็งแกร่งดีงามใบนี้

 

มีอยู่ 3 ปัจจัยหลัก ที่ทำให้ผมรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า เราจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนกับเรื่องนี้ ประกอบด้วย

1)       จนถึงวันนี้ พวกเราได้จัดการเรื่องการอนุรักษ์ป่า สัตว์ป่า และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จนประสบความสำเร็จล้ำหน้ากว่าหลายๆ ประเทศ แต่เนื่องจากภูฏานก้าวไปอย่างรวดเร็วมากจากสังคมที่ยึดติดกับคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมมาสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ พวกเราจึงอยู่ในอันตรายร้ายแรงของการลืมหรือละเลยต่อแนวทางแบบเดิมๆ ซึ่งพวกเราที่อยู่ในภูฏานเห็นสิ่งนี้ชัดขึ้น (และเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้มาเยือนประเทศนี้) ผมยังจำอดีตเมื่อไม่นานมานี้ได้ ว่า ถนนสายต่างๆ ที่ทอดมายัง “ชอง (Dzong)” หรืออาคารที่ทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาล นั้นเต็มไปด้วยผู้คนเดินไปทำงานตอนเช้าและเดินกลับตอนบ่าย คุยกันสังสันท์กันด้วยความสดชื่น การเดินทางไปทำงานเป็นพีธีกรรมในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เป็นโอกาสในการหาและรักษาเพื่อน แต่ตอนนี้ภาพเหล่านี้เกือบจะหายไปแล้ว และถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ สัญลักษณ์ที่บ่งสถานภาพ โดยคนที่ยังเดินเท้าอยู่จะมองตัวเองว่าพวกเขาเป็นคนที่ “ไม่มี” ซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ถูกตั้งคำถามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าเวียนศรีษะ

 

สิ่งที่น่าเศร้านี้ ยังรวมไปถึงคนที่แสดงออกถึงความร่ำรวยด้วยการเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันทั้งๆ ที่บ่อยครั้งไม่มีเงินพอที่จะซื้อ และต้องกู้หนี้ก้อนใหญ่ ซึ่งส่งผลให้พวกเขาและครอบครัวต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น โดยผลสำรวจในเมืองทิมพูเมื่อเร็วๆ นี้  พบว่า 75% ของผู้ที่ขับรถยนต์ไปทำงานไม่ได้ขับไปไกลเกินกว่าระยะทาง 3 กิโลเมตรเลย ขณะที่ การเดินในระยะทางไม่ไกลนักแต่ละวันนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นับเป็นเรื่องน่าตกใจจริงๆ ที่มองเห็นว่าลักษณะพื้นฐานร่วมทางสังคมในเรื่องวัตถุนิยมนั้นมีมากขึ้นอย่างรวดเร็วแค่ไหนจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนี่คือสิ่งที่เร่งให้ผมรู้สึกถึงความเร่งด่วนที่ต้องการเห็นหลักเกณฑ์ด้านจีเอ็นเอช และคุณค่าที่จะรวมเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาของเราได้อย่างรวดเร็ว

 

 

2) ปัจจัยที่ 2 คือ จุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของชาติและประชาชนของเราให้ได้ เราไม่มีเวลาหลายๆ ปีที่จะค่อยๆ ทำ โดยให้ความสำคัญไปกับการผลักดันให้เกิด “การลงมือปฏิบัติ” เพราะหากปีหน้าเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ในระบบการศึกษา ซึ่งสามารถให้ภาพที่แท้จริงและชัดเจนในเชิงคุณค่าและหลักการของจีเอ็นเอชได้ ผมก็เชื่อมั่นว่า แรงผลักดันของการก้าวไปยังทิศทางที่ถูกต้องจะช่วยนำพาเราให้ก้าวไปข้างหน้า อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น แข็งแกร่งขึ้น และลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

3)       ปัจจัยข้อ 3 สืบเนื่องมาจากความเป็นจริงทางการเมืองว่า เราเป็นประเทศน้องเล็กสุดในโลกแห่งระบอบบประชาธิปไตย เราเพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลชุดนี้ให้คำมั่นอย่างแข็งขันต่อแนวทางการพัฒนาโดยจีเอ็นเอช อย่างไรก็ตาม ความหมายอย่างเป็นทางการที่ใช้อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยนั้น ยังมีข้อจำกัด และเราไม่ทราบว่ารัฐบาลชุดต่อไป จะยังให้ความสำคัญกับแนวทางนี้เป็นเรื่องแรกหรือไม่ อาจเป็นการง่ายของแทบทุกประเทศในโลก ที่จะเดินไปบนเส้นทางการพัฒนาด้วยการปล้นชิงโลกของธรรมชาติ โดยเรียกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่วัฒนธรรมโบราณดั้งเดิมและชุมชนที่อ่อนแอลงของเรา กลายเป็นชิ้นส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่ล้าสมัย ซึ่งถูกแทนที่ด้วย แมคร้านโดนัลด์ วอลมาร์ท และสัญญลักษณ์แห่งการพัฒนาอื่นๆ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะภูมิหลังของผมเองที่เป็นศาสนิกชน ทำให้ผมรู้สึกอย่างแรงกล้าถึง ความไม่เที่ยงแท้ แต่ผมก็ยังมีความรู้สึกอย่างแรงว่า หากเราไม่คว้าโอกาสชั่วขณะ ณ ปัจจุบันไว้ และทำอะไรให้สำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน 3 ปีจากนี้ พวกเราก็อาจไม่มีโอกาสเข้ามาอีกเลย

 

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของนโยบายทางการเมือง ดังนั้นขอให้ผมได้ย้ำกับพวกท่านว่า คำมั่นของผมต่อ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” และวิสัยทัศน์ของราชวงศ์ที่เปี่ยมไปด้วยอัจฉริยภาพของเรา ไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้ด้วยจุดประสงค์ด้านการเมือง แต่ในทางตรงกันข้าม! ประการเดียวที่จะชี้ชัดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของเรา ก็คือกรอบที่เราสร้างสรรค์ขึ้นนั้นไม่สามารถมีอะไรมาทำลายลงได้ และยังสามารถทนทานต่อความท้าทายจากสิ่งยั่วยวนทั้งหลาย รวมถึงโลกที่ทวีความซับซ้อนมากขึ้น อิทธิพลต่างๆ ที่ถูกชี้นำจากลัทธิบริโภคนิยมและวัตถุนิยม กรอบเหล่านี้ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าที่แท้จริงแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะอยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริง และยังต้านทานความพยายามต่างๆ จากการเมืองที่จะมาทลายมัน เรามีคำในภาษาของเราซึ่งเรียกสิ่งที่ไม่สามารถมีอะไรมาทำลายได้นั้นว่า “ดอร์จิ (dorji)” ซี่งหมายถึง สิ่งที่เปรียบเสมือนเพชร และสิ่งที่เติบโตแข็งแกร่งมาจากคำสอนยุคโบราณของเราถึงธรรมชาติที่จริงแท้ และธรรมชาติของจิตใจที่ไม่มีอะไรจะมาทำลายได้ โดยจะสะท้อนมาจากปัญญาภายใน และการเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจคนอื่น

 

ไม่มีหลักการข้อใดของ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ที่ไม่ได้เป็นพื้นฐานของจักรวาล

 

ผมเคยได้ยินจากที่ปรึกษาด้านการศึกษาหลายๆ คนตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งล้วนแนะนำให้ผมส่งเสริมหลักการศึกษาสมัยใหม่  เช่น การเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตัวเองมากกว่าการท่องจำ การให้ครูผู้สอนเป็นคนคอยอำนวยความสะดวกให้มากกว่าที่จะมีบทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ ให้เปลี่ยนบรรยากาศห้องเรียนจากความน่ากลัวเป็นการให้ความมั่นใจ เป็นต้น

 

แม้ว่านักการศึกษาสมัยใหม่ทั่วๆ ไปจะพูดดึงหลักการศึกษาแบบนี้กันอย่างมากมายว่าเป็นความก้าวหน้า แต่ความเชื่อของผมก็คือ ผมคิดว่ายังมีสถานที่สำหรับให้ครูเป็นผู้สอนหนังสือให้เรา หรือที่เรียกว่า “กูรู” หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นอะไรที่มากกว่าผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครู ต้องเป็นผู้ที่สามารถรวมหลักการของจีเอ็นเอชและคุณค่าเข้าด้วยกันได้อย่างแท้จริง

 

ผมยังกังวลเวลาที่นักการศึกษาทั้งหลายปฏิเสธการตั้งข้อสังเกตถึงความกลัวด้วยความมั่นใจที่ถูกสร้างขึ้น แน่นอนว่า ความมั่นใจและความกล้าหาญเป็นเสิ่งสำคัญมาก แต่ด้วยศักยภาพของการรู้สึกถึง “ความกลัว”  จะมีปัญหาเกิดขึ้นในโลกนี้มากขนาดไหน ถ้าปราศจากความกลัวต่อผลที่จะตามมาจากการกระทำของตัวเราเอง ที่จริงแล้ว บรรดาครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราได้สอนว่า ความั่นใจและความกล้าหาญที่แท้จริงนั้นมาจากการอยู่ใกล้ชิดกับความกลัวนั่นเอง

 

แน่นอนว่าตอนนี้ผมพูดจากความรู้สึกส่วนตัว แต่ผมก๋วิตกว่าระบบการศึกษาสมัยใหม่ซึ่งกัดกร่อนคุณค่าของบางสิ่งอย่างไม่ตั้งใจ เช่น ความมีเกียรติ ความหาญกล้า ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี และความเสียสละ อาจบั่นทอนสายใยบางๆ ของคุณลักษณะดีๆ และเห็นความสำคัญของจริยธรรมน้อยลง และยังเสริมสร้างให้เกิดผู้บริโภคที่ถูกผลักดันด้วยความทะเยอทะยานและความสำเร็จของตัวเอง ซึ่งจากประสบการณ์ของผม เคยเห็นหลักการศึกษาอันสูงส่งบางส่วน ที่ก่อให้เกิดปัญหาคล้ายๆ อย่างนี้มาแล้ว

 

การสร้างระบบการศึกษาที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก “จีเอ็นเอช” นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เด็กให้คุณค่ากับสิ่งนี้ และมีธรรมชาติการปฏิบัติตัวทั้งในและนอกโรงเรียนไม่แตกต่างกัน

 

และท้ายสุดนี้ เราจะประเมินคุณค่าตัวพวกเราเอง ตลอดจนพฤติกรรมของเราอย่างไร ถ้า “การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (learning by doing)” เป็นเส้นทางที่ต้องเดิน ซึ่งเชื่อว่าท้ายที่สุดทุกคนที่นี่จะเห็นด้วยเมื่อเวลานั้นมาถึง ซึ่งผมจะยินดีจริงๆ ที่เราจะนำวิถีปฏิบัติและธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณเข้าไปอยู่ในสิ่งที่เราคุยกันนี้ ด้วยการเริ่มต้นแต่ละวันด้วยการทำสมาธิสัก 2-3 นาที เพื่อทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง และปิดท้ายแต่ละวันด้วยการสวดภาวนาให้กับสิ่งที่เรากระทำต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

 

และที่ท้าทายยิ่งกว่าเรื่องไหนทั้งหมด ก็คือ เรื่อง “วัฒนธรรมรถยนต์ (car culture)” ซึ่งขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในภูฏาน ถ้าพวกคุณพักอยู่ห่างจากที่นี่โดยใช้เวลาเดินทางได้ภายใน 20-30 นาที ทำไมถึงไม่ทิ้งรถไว้ที่บ้าน และเดิมทางมายังที่โรงแรมนี้ (ซึ่งใช้ทำเวิร์คชอป) เราอาจช่วยวางพื้นฐานให้รัฐบาลริเริ่มโครงการใหม่ อย่างเช่น การแจกรถจักรยานให้กับผู้ที่ต้องเดินไป-กลับระหว่างที่ทำงานและบ้าน สร้างจุดจอดรถจักรยาน และเราอยากเปลี่ยนเมืองทิมพู ให้เป็นเมืองสำหรับคนเดินถนนและระจักรยาน ถือเป็นการเรียนรู้และการศึกษาอย่างหนึ่งเช่นกัน!

 

พวกเราได้ช่วยร่วมแบ่งปันแรงบันดาลใจที่สูงส่งที่จะเห็นคนหนุ่มสาวเรียนจบจากระบบการศึกษาของเราที่ให้ความใส่ใจกับธรรมชาติ และใส่ใจกันและกัน ก้าวเข้าไปสู่วัฒนธรรมที่พวกเขามีอยู่ มองเห็นชัดแจ้งถึงความเป็นจริง อาศัยอยู่อย่างกลมกลืนไปกับโลกธรรมชาติและเพื่อนบ้าน และปฏิบัติอย่างชาญฉลาดเพิ่อประโยชน์ต่อทุกสิ่งมีชีวิต