เลือกสินเชื่ออย่างไรให้ถูกทางกับธุรกิจไซส์เอส

โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน Local Economy Loan วัตถุประสงค์การกู้ เพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็ก เพื่อสร้างและกระจายรายได้สู่ผู้ประกอบการในชุมชนอย่างทั่วถึงอันจะนำมาซึ่งความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในภาพรวมและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวชุมชนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และเกษตรแปรรูป (อาหารหรือไม่ใช่อาหาร) ซึ่งเป็นการยกระดับเศรษฐกิจตามนโยบาย วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายใน 18 ธันวาคม 2561 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการแล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน วงเงินสินเชื่อ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5.0 ล้านบาท ต่อราย

• บุคคลธรรมดา วงเงินสูงสุดไม่เกิน 2.0 ล้านบาท

• บุคคลธรรมดา ที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และนิติบุคคล วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5.0 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืม สูงสุดไม่เกิน 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก ปีที่ 4 ถึง ปีที่ 7 MLR ต่อปี หลักประกัน บสย. ค้ำประกัน และ/หรือ หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธนาคารเฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

• เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ดังนี้

– SMEs ที่ดำเนินธุรกิจแปรรูป (อาหาร หรือไม่ใช่อาหาร)

– SMEs ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับท่องเที่ยว หรือธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน หรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV)

– SMEs ผู้ประกอบการใหม่ หรือมีนวัตกรรม หรือธุรกิจผลิต หรือบริการอื่นๆ • เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่เคยได้รับการอนุมัติ และใช้วงเงินสินเชื่อโครงการที่มติ ครม. เห็นชอบให้ ธพว. ดำเนินการดังนี้ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) – โครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan • เป็นการให้สินเชื่อใหม่ ทั้งลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Re-Finance) มาจากสถาบันการเงินอื่น • เป็นผู้ประกอบการ SMEs มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงินต่อราย (ไม่รวมกิจการในกลุ่ม) ไม่เกิน 50 ล้านบาท ณ วันยื่นคำขอกู้ คุณสมบัติผู้กู้ • เป็นผู้ประกอบการ SMEs เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลไทยที่มีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด • ต้องไม่มีประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วง 12 เดือน และมีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 6 งวด ก่อนวันที่ยื่นขอสินเชื่อ • กรณีบุคคลธรรมดาต้องจดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ยกเว้น ธุรกิจบางประเภทที่หน่วยงานราชการมิได้กำหนดให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น ธุรกิจบริการ ค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ (Front End Fee) • กรณี บสย.ค้ำประกันเต็มวงเงิน หรือ บสย.ร่วมกับหลักประกันตามเกณฑ์ของธนาคารเฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คิดร้อยละ 2.5 ของวงเงิน • กรณีหลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธนาคารเฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ค้ำประกันเต็มวงเงิน คิดร้อยละ 1.5 ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ

 

2.สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0

โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดย่อม วัตถุประสงค์การกู้ เพื่อลงทุน ขยาย ปรับปรุง พัฒนากิจการ ให้มีประสิทธิภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น เพื่อลงทุนการเริ่มต้นธุรกิจ สร้างธุรกิจใหม่ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยกำหนดเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินหมุนเวียน หลังจากทำนิติกรรมสัญญาโดยพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม วงเงินโครงการ 8,000 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1.0 ล้านบาท ต่อราย กรณีผู้กู้เคยปรับโครงสร้างหนี้ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หากมีผลการชำระหนี้เป็นปกติไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 เดือน ให้สามารถขอวงเงินเพิ่มได้ตามความเหมาะสมและความสามารถชำระหนี้ ระยะเวลากู้ยืม สูงสุดไม่เกิน 7 ปีปลอดชำระคืนต้น สูงสุดไม่เกิน 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หลักประกัน  ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อ ค้ำประกันเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ กรณีที่นำเงินไปลงทุนในอาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ ให้มีการจัดทำประกันภัยแก่หลักประกันตามแนวทางของหน่วยร่วมดำเนินการที่เป็นสถาบันการเงิน คุณสมบัติผู้กู้ เป็นเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกิจการประเภท การผลิตสินค้า การให้บริการ การค้าปลีก หรือการค้าส่ง โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคน หรือมีมูลค่าทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินห้าสิบล้านบาท2. เป็นเอสเอ็มอีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1) เอสเอ็มอีที่ต้องการลงทุนใหม่ ขยายกิจการ ปรับปรุง ปรับหรือเปลี่ยนธุรกิจ/อาชีพ หรือแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือเริ่มต้นธุรกิจ 2) เอสเอ็มอีที่มีปัญหาทางการเงิน แต่กิจการยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรือเอสเอ็มอี ที่เข้าถึงแหล่งทุนยาก เช่น ขาดเอกสารในการทำบัญชีรับ-จ่าย หรือขาดสภาพคล่อง แต่ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าวต้องไม่ใช่ธุรกิจจัดสรรที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อขาย หรือธุรกิจผิดกฏหมาย หรือธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม3. มีบัญชีรับ-จ่าย หรือมีระบบบัญชี หรือแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบัญชีรับ-จ่าย หรือเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว4. ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการต้องไม่เป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี5. มีประวัติการชำระหนี้ ดังนี้ 1) กรณีลูกหนี้ปกติ (ไม่เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา) ให้มีประวัติการชำระหนี้ไม่สม่ำเสมอ งวดใดงวดหนึ่งได้ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 ครั้ง ก่อนวันยื่นโครงการ 2) กรณีลูกหนี้ที่เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือ เคยปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ต้องชำระหนี้ปกติหลังจากปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 งวดติดต่อกัน ทั้งนี้ หากมีประวัติการชำระหนี้มาแล้วเกิน 4 งวด สามารถไม่ชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 2 ครั้ง ก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ6. กรณีที่เอสเอ็มอีได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคล มาแล้วไม่เกิน 12 เดือน 1) ให้พิจารณาประวัติการชำระเงินหนี้ ประวัติการเป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ในนามของบุคคลธรรมดา และ/หรือ กลุ่มบุคคลของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เคยดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกัน 2) ให้บุคคลธรรมดา และ/หรือ กลุ่มบุคคล สามารถยื่นความประสงค์ขอกู้ได้ ในระหว่างที่ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคล แต่ต้องจดทะเบียนและเสร็จก่อนอนุมัติสินเชื่อ7. ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วดังนี้ 1) กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท 2) กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 2,000 ล้านบาท 3) เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย

 

3.สินเชื่อสร้างอาชีพ วัยเก๋า

สนับสนุนช่วยเหลือด้านเงินทุนดำเนินธุรกิจผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปควบคู่กับองค์ความรู้ เพื่อเริ่มต้นสร้างธุรกิจ สร้างอาชีพใหม่ สร้างรายได้ สร้างงาน และสามารถปรับปรุงกิจการให้มีประสิทธิภาพและแข่งขันในธุรกิจได้ วงเงินโครงการ วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ประกอบการ SMEs สัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป หรือนิติบุคคลไทย ที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด • เป็นการให้สินเชื่อใหม่ ไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Re-Finance) คุณสมบัติผู้กู้ • อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมกับระยะเวลาให้สินเชื่อไม่เกิน 75 ปี • เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ผ่านการพัฒนาหรือฝึกอบรม หรืออยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเข้าร่วมการพัฒนาหรือฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการธุรกิจ ของธนาคารหรือหน่วยงานอื่นที่ธนาคารเห็นชอบ • แฟรนไชส์ที่เป็นผู้รับสิทธิ (Franchisee) ต้องผ่านการอบรมจากผู้ให้สิทธิ (Franchisor) วงเงินสินเชื่อ ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย • ผู้สูงวัยที่ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือต้องการขยาย ปรับปรุงกิจการ ทุกประเภท กู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท • ผู้สูงวัยที่ต้องการประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ โดยผู้ให้สิทธิ (Franchisor) ไม่ได้ทำบันทึก (MOU) กับธนาคาร กู้ได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท • ผู้สูงวัยที่ต้องการประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ โดยผู้ให้สิทธิ (Franchisor) ทำบันทึก (MOU) กับธนาคาร กู้ได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืม สูงสุด ไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย กรณีใช้หลักประกัน บสย. คิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1 ปี ใช้หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร คิดอัตราดอกเบี้ย MRL ต่อปี ระยะกู้เวลาโครงการ สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายใน 31 ธันวาคม 2561 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินแล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน หลักประกัน บสย.ค้ำประกัน กรณีวงเงินกู้ ไม่เกิน 1 ล้านบาท 1. ประกอบกิจการไม่เกิน 3 ปี ให้ใช้ บสย. โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่และนวัตกรรม (Start-up & innovation) 2. ประกอบกิจการเกินกว่า 3 ปี ให้ใช้ บสย. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SME ทวีทุน (PGS6) ปรับปรุงใหม่ กรณีวงเงินกู้ เกินกว่า 1 ล้านบาท ให้ใช้ บสย. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SME ทวีทุน (PGS6) ปรับปรุงใหม่ หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของ ธพว. เฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

 

4.สินเชื่อ Smart Factoring บัญชีเดียว

วัตถุประสงค์โครงการ – เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลในการเบิกจ่ายตามงบประมาณของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ปี พ.ศ. 2561 วงเงินโครงการ – วงเงิน 4,000 ล้านบาท คุณสมบัติผู้กู้

• นิติบุคคลที่มีบุคคลสัญชาติไทย ถืือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50

• เป็นผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ต่ำกว่า 1 ปี

• ไม่มีประวัติการทิ้งงานราชการ หรือเอกชน หรือถูกบอกเลิกสัญญา

• ต้องมีประวัติชำระหนี้ปกติกับสถาบันการเงิน

• ไม่เป็นนิติบุคคลที่ถูกขายทอดตลาด พิทักษ์ทรัพย์ ล้มละลาย

• จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

• มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก

• ไม่มีผลประกอบการขาดติดต่อกัน 3 ปี

• หากมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี ที่มีลูกหนี้การค้าเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน สามารถกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท คุณสมบัติของลูกหนี้การค้า – หากมีลูกหนี้การค้าเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาด เอ็ม เอ ไอ อัตราดอกเบี้ย กรณีลูกหนี้การค้าเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน • กลุ่มลูกหนี้การค้าที่ตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้อง (จ่ายเช็คหรือโอนสิทธิเข้าบัญชีในนาม ธพว.) คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MFR ต่อปี • กลุ่มลูกหนี้การค้าที่ไม่ตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้อง (จ่ายเช็คในนามลูกค้า) คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MFR+1 ต่อปี ลูกหนี้การค้าที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ MAI คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MFR+1 ต่อปี ระยะเวลาโครงการ – สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายใน 31 ธันวาคม 2561 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินแล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน เงื่อนไขการรับซื้อ – ให้เป็นไปตามระเบียบ ธพว. ว่าด้วยการให้สินเชื่อแฟคตอริ่ง (Factoring) พ.ศ.2560 หรือที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต เงื่อนไขการพิจรณา – ให้ใช้งบสรรพากร หรือ ภพ.30 ในการพิจารณาอนุมัติวงเงิน หลักประกัน – ให้เป็นไปตามระเบียบ ธพว. ว่าด้วยการให้สินเชื่อแฟคตอริ่ง (Factoring) พ.ศ. 2560 หรือที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต กรณีที่กิจการมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกัน 3 ปีล่าสุด ให้เรียกเงินประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินสินเชื่อแฟคตอริ่งที่ได้รับอนุมัติโดยเรียกเก็บครั้งเดียวทั้งจำนวน หรือทยอยหักร้อยละ 5 ของข้อมูลการโอนสิทธิในแต่ละครั้งจนกว่าครบตามเงื่อนไขและให้ทำสัญญาจำนำกับธนาคาร

 

5.สินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว & ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน

“เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและ/หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิ และตัวแทนจำหน่ายสินค้าในชุมชนและภูมิภาค เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในชุมชนและภูมิภาค ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการ รวมทั้งเสริมสภาพคล่องในการต่อยอดกิจการ เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนนโยบาย Local Economy ของรัฐบาล ในจังหวัดต่างๆ” วงเงินโครงการ : 7,500 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อ* บุคคลธรรมดา : กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท (กรณีที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือ มีหนังสือรับรอง จากหน่วยงานภาครัฐให้การส่งเสริม สนับสนุนให้วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 5.0 ล้านบาท) นิติบุคคล : วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท (*เมื่อรวมวงเงินเดิมแล้วต้องไม่เกิน 15 ล้านบาท) ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด : ไม่เกิน 7 ปี อัตราดอกเบี้ย: – กรณีใช้หลักประกัน บสย. อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR ต่อปี – กรณี ใช้หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธพว. เฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.5 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1 ต่อปี