ถอดรหัสธุรกิจยั่งยืน “เอสซีจี” เดินหน้า SDG กับ 4 อุดมการณ์เป้าหมาย

 

นำพล ลิ้มประเสริฐ

ปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเรื่อง  SDG เป็นธงนำการพัฒนารอบด้าน  ในบ้านเราก็เช่นเดียวกันองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งให้ความสำคัญเรื่อง  SDG นำมาเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างชัดเจน ที่เห็นตัวอย่างได้ชัด คือธุรกิจยักษ์ใหญ่ของไทย อย่างเครือเอสซีจี ที่ให้น้ำหนักเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง

คุณนำพล ลิ้มประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาอย่างยั่งยืน เครือเอสซีจี กล่าวถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SD: Sustainable Development  ว่าหมายถึงการพัฒนายั่งยืนที่มีการมองเพิ่มจากเรื่องเศรษฐกิจไปอีก 2 มิติ คือมิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องยอมรับปัจจุบันสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ  เราจะเห็นว่ามีภัยพิบัติต่างๆ ที่รุนแรงเกิดขึ้นเรื่อยๆ  จึงต้องหันมาให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่ง SD คือการสร้างความสมดุล 3 ด้านทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็น Triple bottom line ที่ต้องสมดุลกัน

การพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ ทำได้ ทั้งเอกชน ผู้ประกอบการ และภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมุ่งไปเอสดีจี เหมือนกัน สำหรับประเทศไทยเราโชคดีที่มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งไปทิศทางเดียวกับ SDG เป็นอย่างดี ในสังคมไทยพูดเรื่อง SD เหมือนเป็นคำใหม่แต่ที่จริงเราพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีมานานกว่า  20 ปีแล้ว กว่า 30 ปีทั่วโลกตื่นตัวเรื่อง SD

ภาพรวมSD ทั่วโลกคุยกันมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2530 ที่สหประชาชาติมีการพูดคุยเรื่อง SD มาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่ในประเทศไทยกระแส SD เพิ่งมาราว 10 ปีที่แล้ว โดยภาคเอกชนเป็นหลักก่อน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดมาจาก 3 ปัจจัย ด้วยกันคือ 1.องค์กรธุรกิจดำเนินการไป ก็ต้องประเมินผล มีดัชนีชี้วัด ซึ่งในที่นี้มีดัชนีดาวโจนส์ DJSI : Dow Jones Sustainability Indices เป็นดัชนีที่สหรัฐอเมริกา ที่ดูเรื่องความยั่งยืนใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม มีการประเมินทุกปี จากบริษัทต่างๆ ทั่วโลกถูกคัดเลือกมาเป็นสมาชิก DJSI เพียง 350 บริษัทในปี2559 ในจำนวนนี้มีบริษัทของไทยได้เข้าเป็นสมาชิก DJSI  ถึง 15 บริษัท ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว ดัชนี DJSI นี้มีมา 20 ปีแล้ว

2. SDG : Sustainable Development Goals  มีการพูดถึงมากเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน  แต่ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) มีคำว่า Millennium Development Goals หรือ MDG มาก่อนในระยะการพัฒนาเวลา 15 ปี เพิ่งหมดไปเมื่อปี 2015 (พ.ศ.2558) ต่อมาจึงเป็น SDG ซึ่งจะต่อเนื่องไปอีก 15 ปีไปถึงปี 2030 (พ.ศ.2573)

เมื่อมาพิจารณา เรื่อง  SDG ทั้ง 17 ข้อ  จะเห็นว่ามุ่งตอบโจทย์ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ

ในประเทศไทยรัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาที่มุ่งสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีลำดับการพัฒนา 3 ลำดับ อยู่รอด เติบโต ยั่งยืน ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะเห็นว่าทั้ง 3 คำคือSDG,  DJSI, และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่างล้วนตอบโจทย์ความยั่งยืน

 

ถามว่าดัชนีเหล่านี้ดีอย่างไร อยากยกตัวอย่างกรณีปูนซิเมนต์ไทย เมื่อก่อนไปออกบูธต่างประเทศคนต่างชาติไม่รู้จัก เอสซีจี ไทย แต่เมื่อเราได้ DJSI มีความน่าเชื่อถือตามมาคนทั่วโลกให้ความสนใจให้การยอมรับ ปัจจุบันบริษัทในเมืองไทยเริ่มมาให้ความสนใจเรื่องนี้ DJSI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่ทำอย่างจริงจัง อย่างกรณีของเอสซีจี ได้รับเชิญไปประเมินไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ดัชนีนี้อยู่ในวงจำกัดไม่ใช่ใครๆ ก็สมัครได้

 

คำว่า SD บริษัทใหญ่ดำเนินการกันอยู่มากพอสมควร แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็กอาจยังไม่มากนัก แต่ถ้ามาดูเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลายบริษัทดำเนินการอยู่ แต่อาจไม่ได้โปรโมท ด้วยข้อจำกัดการเป็นบริษัทขนาดกลางขนาดเล็ก และบางรายก็อาจไม่รู้ตัวว่ากำลังดำเนินการอยู่ ต้องย้อนมาดูมิติเศรษฐกิจและมิติด้านสังคม หลายบริษัทดูแลอยู่แล้ว แต่อยู่ในระดับไหนเท่านั้น มิติด้านสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าหลายบริษัทดูแล และมีกฎหมายระบุอยู่แล้ว เช่นบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ การมองเรื่องเอสดี คือจะต้องทำให้ดีกว่ามาตรฐานกฎหมายบังคับ ปรับคุณภาพน้ำให้เหลือบีโอดี แค่ 10 จากที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 เป็นต้น เราต้องสื่อสาร SD ไม่ใช่เรื่องใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ภาครัฐมีมุมมองเรื่อง SD และยิ่งปัจจุบันมี SDG ยิ่งต้องเติมแต่งให้ครบถ้วนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ12 เน้น SDG

 

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นายกรัฐมนตรี ได้สั่งทุกแผนประเทศต้องมองไปล่วงหน้า 20 ปี 2560 -2579 มองเป็นไทม์ไลน์เดียวกัน แผนฯ 12 มองสั้นลงมาเหลือ 5 ปี ได้นำเอา SDG จาก 17 เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ มารวมไว้ด้วย ตอนนี้รัฐมีการทำเวิร์คช้อปเพื่อโฟกัสแผนนี้ให้ชัดเจน ภาค รัฐมีการนำมาดำเนินการก่อน 30 เป้าประสงค์ เพื่อให้ดำเนินการจับต้องได้ รัฐดำเนินการโดยมองทั้ง 3 มิติ เช่น ยุติความหิวโหย เศรษฐกิจมองประสิทธิภาพการใช้พลังงาน สวล.การเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัย ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

 

จะเห็นว่าแผนฯ12 นำเอา SDG ไปประกอบร่างกับแผนครอบคลุมการดำเนินการได้ดีขึ้น ในระดับชาติเวลามองแผนพัฒนาที่ 12 มองระดับประเทศครอบคลุมทุกภาค  การมีหลายภาคส่วนความร่วมมืออาจลำบาก เพราะการดำเนินการแตกต่างกัน การกำกับติดตามให้ตามกฎหมาย และเมื่อมาดูภาคเอกชนจะเล็กกว่าภาครัฐ บริษัทจำกัดจำนวนพนักงาน ชุมชนก็เล็กกว่า มุมมององค์กรธุรกิจต้องอยู่รอด เอกชนจะเน้นด้านเศรษฐกิจ อาจยังไม่บาลานซ์สังคม สิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเทียบระดับประเทศจะมองสมดุลทั้ง 3 มิติ แต่การปฏิบัติทำได้ยากกว่า ทั้งสองภาคต่างดำเนินการกันอยู่

 

ภาครัฐมีการจัดเวิร์คช้อป เวลาจะออกกฎหมายกฎระเบียบมีการเวิร์คช้อป ฟังเสียงจากประชาชน การดำเนินการต้องประสาน ภาครัฐ เอกชน และประชาชน เรามีความร่วมมือกันอยู่แล้วในการปฏิบัติการขับเคลื่อนพัฒนาอย่างยั่งยืนในไทย ถือว่าก้าวหน้าในระดับที่ดี ตอนนี้ต้องมาดูว่าทำอย่างไปให้ผสานร่วมมือกัน ต้องมาดูว่าภาครัฐและเอกชนจะ อัลไลน์ไปด้วยกันได้อย่างไร

 

สำหรับองค์กรเอสซีจี ปีนี้เป็นปีที่ 104 แล้ว หลังจากปูนซิเมนต์ไทย ก่อตั้งด้วยพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 6 เพราะตอนนั้นในประเทศไทยเรามีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ปูนซีเมนต์เราไม่มีพระองค์ท่านทรงดำริให้ตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ก็เจริญเติบโตมาเรื่อยๆ กับเรื่อง SD เข้ามาตั้งแต่เมื่อไรอาจตอบยาก แต่ในแง่การดำเนินธุรกิจ เอสซีจีมีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ มากกว่า 30 ปี ว่าด้วยเรื่อง อุดมการณ์ 4  คือ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม  มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และถือมั่นในความรับผิดขอบต่อสังคม ซึ่งเป็นจุดเริ่มการคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี ซึ่งยึดถืออุดมการณ์ 4 มาจน ถึงปัจจุบัน อุดมการณ์ 4 ไม่ล้าสมัยยังคงใช้ได้ในปัจจุบัน และดูทันสมัยกับวิถีแห่งความยั่งยืนทั่วโลก

เอสซีจีทำอะไรเรื่อง SD ให้ความสำคัญกับคน เราก็ดูแลเรื่องคนมาตลอด ดูว่ามีความสามารถในการแข่งขันอย่างไรบ้าง ดูการผลิต ย้อนกลับมาดูเอสซีจีเป็นอุตสาหกรรมใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ เราก็ต้องกลับมาดูว่าพลังงาน จะทำอย่างไรจะใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพใช้น้อยลง ช่วยลดต้นทุน  เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น เราอาจคุ้นเคยกับคำว่า 3 R คือ Reduce  Reuse  Recycle เป็นปัจจัยพื้นฐานเลย เรานำมาปรับใช้ที่แตกต่างกันไป ทำให้ง่ายหน่อย คือ ปิด ปรับ เปลี่ยน แอร์ไม่ใช้ก็ปิด ไฟไมใช้ก็ปิด คือการปิดไม่ต้องไปลงทุน ของที่มีอยู่ไม่ใช้ก็ปิด

ส่วนการปรับ มาดูเรื่องแอร์คอนดิชั่น บ้านเราเมืองร้อนก็ต้องใช้แอร์ ปรับแอร์มาเปิดที่ 26 องศา ตามตัวเลขคร่าวๆ การปรับอุณภมิต่ำ 1 องศา เราจะเปลืองค่าไฟประมาณ 10%  วิธีการปรับ ก็ไม่ได้ลงทุนอะไรมาก ส่วนตัวสินค้า ยึดแนวทาง เปลี่ยน  คือ อุปกรณ์เก่าที่สิ้นเปลืองพลังงานก็เปลี่ยน เช่น อุปกรณ์มีเทคโนโลยีใหม่ อย่างหลอดไฟมีหลากหลายเทคโนโลยีใหม่ ที่ประหยัดไฟอย่างหลอดแอลอีดี ก็นำมาเปลี่ยนเพื่อลดค่าใช้จ่าย

เรื่องพลังงานอีกตัวที่เป็นผลกระทบ คือการก่อก๊าซเรือนกระจก ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เอสซีจีก็มาตั้งเป้าตัวเองว่า จะลดก๊าซเรือนกระจกลง 10%  ทำมา 10 ปีที่แล้วตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 10% ภายในปี 2563เอสซีจีต่อยอดสืนค้ายั่งยืน SCG Eco Value

นอกจากนี้ การทำความยั่งยืนกับลูกค้า ดำเนินการโดยผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เช่น ก๊อกน้ำเมื่อลูกค้าซื้อไปใช้ก็สามารถประหยัดน้ำ และฉนวนกันความร้อน พยายามทำสินค้าให้เข้าเกณฑ์ฉลากเขียว ฉลากลดคาร์บอน  ข้อดีเหล่านี้มันก็ต้องใช้เวลา เรามานั่งมองการออกใบรับประกันสินค้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม เราก็มาทำฉลากของตัวเองด้วยชื่อ เอสซีจี อีโค่แวลูว์ (SCG Eco Value)  ถ้าเป็นสินค้าตัวไหนที่ได้ตรานี้ คือมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีทีมงานตรวจสอบเองประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ  มีทีมงานตรวจสอบมาตรฐาน เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในฉลากนี้ กับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

การผลิตสินค้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม กรีน โพรดักซ์ อีโค่ โพรดักซ์ มาจากความมุ่งมั่นที่รับรู้ว่าสินค้าสีเขียวต้องแพง แต่สำหรับเอสซีจีไม่เสมอไป สินค้าเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานแง่การผลิตประหยัดพลังงาน ประหยัดต้นทุน หรืออีกแบบสินค้าที่เป็นมิตรต่อการใช้งานของลูกค้า เช่น ก็อกน้ำประหยัดพลังงาน 25% หรือ 50% ตอนผลิตเราลงทุนปรับการผลิตต้นทุนสินค้าอาจแพงขึ้น ลูกค้าอาจต้องจ่ายเงินซื้อมากขึ้น แต่ลูกค้าก็ได้การประหยัดน้ำ ก็ประหยัดขึ้น

 

จำนวนรายการสินค้าเอสซีจีอีโค่แวร์ลูวร์มี ปี 2559 มีสินค้า 78 ประเภท ยอดขายผ่านอีโค่แวร์ลูวร์ 40% จาก 4.3 แสนล้าน ยอดขายเอสซีจีอีโค่แวร์ลูวร์ 40% ก็ประมาณสัก 1.6 แสนล้านบาท อันนี้ก็ต้องบอกกว่าลูกค้าก็เห็นประโยชน์และซื้อไปใช้ด้วย ก็ช่วยด้านสิ่งแวดล้อมและช่วยลูกค้าประหยัดไปพร้อมกันด้วย

CSR, SD ตอบโจทย์ SDG 17 ข้อ

SDG Goals  17 เ ป้าหมายเชื่อมโยงกันอย่างไร SD  อย่างไรนั้น นำพล อธิบายว่า  Sustainable  Development Goals  เป็นตัววัดเพื่อประกอบได้ว่าสิ่งทีทำไปไม่หลงลืมอะไร  เรื่องเศรษฐกิจก็มี เรื่องความยากจน  หิวโหย  ฯลฯ  หรืออย่างข้อ 12 การใช้ที่มีความรับผิดชอบ แม้กระทั่งการผลิต ด้านการผลิต เรืองน้ำด้วย ด้านสังคม ข้อ 13 Good Health and well being ทำอย่างไรให้คนมีสุขภาพที่ดี ส่วนเรื่อง Quality Education ก็จะเป็นในเรื่องของสังคม ซึ่งเราจะเห็นว่าเป็นตัวมาบอกไม่ให้หลงลืมประเด็นอะไร

สิ่งที่เอสซีจีดำเนินการเรื่อง SDG หลายคนจะงงเพราะเกี่ยวพันกับเรื่อง SD ที่ตอบโจทย์ SDG ด้วย อย่าง เรื่องพลังงาน ก็ตอบสนอง SDG หลายข้อด้วยกัน เช่น ประหยัดพลังงาน ตอบโจทย์ข้อ 12. คือ Responsible Production ตอบข้อ 13 ประหยัดพลังงานปล่อยกรีนเฮ้าส์ก๊าซลดลง ในการดำเนินการต่างอาจต้องมีพาร์เนอร์ชิพ ไปตอบโกลข้อ 17 มาดูอีโค่แวลูวร์ตอบโจทย์หลายข้อ ถ้าดูเรื่องน้ำประหยัดน้ำ อาจตอบโกลข้อ 14 ประหยัดพลังงาน ตอบโกล ข้อ 12 ข้อ 13 สิ่งที่เราดำเนินการไปตอบโกลข้อต่างๆ ได้ ในมุมมองกลับกัน สิ่งที่เราทำตอบโจทย์เอสดีจีข้อไหนบ้าง ถ้ามาดูในภาพรวมตอบโจทย์ได้ทั้ง 17 เป้าหมาย ส่วนจะเป็นข้อไหนอะไรบ้าง ต้องมานั่งทบทวนกันอีกครั้ง

CSR, SD, SDG ถ้ามองแยกกันจะเห็นว่า SD เหมือนเป็นคอนเซ็ปท์การดำเนินธุรกิจต้องสร้างสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ส่วน SDG เหมือนเป็นตัววัดว่าที่เราทำนี่ตอบโจทย์ Goals ข้อไหนอย่างไรบ้าง มาถึง CSR : Corporate Social Responsibility จะเห็นว่าตัว S คือ Social หมายถึงสังคมสิ่งแวดล้อม มุ่งช่วยสังคมพัฒนา CSR มุ่งไปในตัวสังคมอาจในเรื่องเล็กน้อย ทั้ง 3 เรื่อง คือ เครื่องมือ 3 แนวทาง ที่มีมุมมองต่างกัน ที่ SD คือการมองภาพรวม SDG เป็นตัวชี้วัด ส่วน CSR จะมองเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเข้าไปร่วมด้วย  แต่ SD มองเรื่องธุรกิจเกี่ยวเนื่องสังคมกับสิ่งแวดล้อม